Page 40 - kpi21588
P. 40
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 3-6
3.3 วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลเอกสารใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความ
เชิงพรรณนาข้อมูล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการน ามาวิเคราะห์เชื่อมโยงประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการวิจัย
ภาคสนาม และ 2) ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยถอดเทปบันทึกการประชุมกลุ่มย่อยจากพื้นที่กรณีศึกษา
ต่างๆ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 3.1 จากนั้นน าข้อมูลจากการถอดเทปมาวิเคราะห์เนื้อหา
ด้วยวิธีการของ Glaser และ Strauss (1967 อ้างถึงใน ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์, 2554) ที่เรียกว่า “Constant
Comparative Method” ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่กระท าพร้อมๆ กับขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุป
เป็น 3 กระบวนการย่อย คือ 1) เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ โดยใช้หลักความเหมือนหรือความคล้าย แล้วจัดเป็น
หมวดหมู่ต่างๆ 2) เมื่อได้รับข้อมูลใหม่ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่ในหมวดหมู่เดิม แล้ว
จัดลงในหมวดหมู่ต่างๆ หากมีข้อมูลส่วนที่ไม่สามารถจัดเข้ากับหมวดหมู่ใดได้ ก็จะสร้างหมวดหมู่ขึ้นใหม่ เพื่อ
รองรับข้อมูลนั้นๆ และ 3) พิจารณารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลในหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อสร้างเป็นค าอธิบาย
ปรากฏการณ์ที่ศึกษา ส าหรับวิธีการสร้างข้อสรุป ใช้วิธีการแบบอุปนัย (Analytic induction) โดยเป็นการน า
ข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อยตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป มาพิจารณาและวิเคราะห์ลักษณะร่วมกันของข้อมูล เพื่อสร้างข้อสรุป
เป็นเชิงนามธรรมซึ่งครอบคลุมข้อเท็จจริงส่วนย่อยมากขึ้น (สุภางค์ จันทวานิช, 2542 และ รัตนะ บัวสนธ์,
2556)