Page 35 - kpi21588
P. 35
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 3-1
บทที่ 3
วิธีการศึกษา
การศึกษาบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อ
พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ส าคัญเพื่อศึกษาพัฒนาการ
รูปแบบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงการ
เลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม จากการสัมภาษณ์และจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม และเพื่อน าเสนอแนวทางการ
ส่งเสริมให้พลเมืองมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม โดยมีขั้นตอนและ
วิธีการศึกษา ดังนี้
3.1 รูปแบบและวิธีด าเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้การเก็บข้อมูลโดยวิธีการเชิงคุณภาพ แบ่งชุดข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
3.1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ด าเนินการเก็บข้อมูล โดย
3.1.1.1 การจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Focus Group Discussion)
ในพื้นที่ต่าง ๆ 4 ครั้ง ได้แก่
(1) พื้นที่ภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสกลนคร และ จังหวัด
นครศรีธรรมราช โดยในแต่ละจังหวัดมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีอายุไม่ต่ ากว่า 18 ปี และมีสิทธิ์ในการ
เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา พื้นที่ละ 30 คน รวมผู้ให้ข้อมูล 90 คน
(2) พื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย
3 ครั้ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้น าชุมชน กลุ่มผู้หญิง และ กลุ่มเยาวชนและสื่อมวลชน รวมผู้ให้ข้อมูล 31 คน
3.1.1.2 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเลือกตั้ง ประกอบด้วย
นักการเมือง นักวิชาการ ผู้แทนภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน รวม 14 คน (รายชื่อปรากฏในภาคผนวก)
รวมจ านวนผู้ให้ข้อมูล 135 คน
3.1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ด าเนินการเก็บข้อมูล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
เอกสาร งานวิจัย งานวิชาการ ข้อมูลเชิงสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อเสียง ปัญหาการเลือกตั้งที่พบ ตลออดจน
บทบาทของประชาชนในการแก้ปัญหาการซื้อเสียง ทั้งในและต่างประเทศ