Page 30 - kpi21588
P. 30

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   2-17



                          2.  We Watch


                              เครือข่ายประชาชนที่ไม่แสวงหาผลก าไร ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของเหล่าอาสาสมัครจากหลาก
                       หลากอาชีพเมื่อปี พ.ศ. 2556 มีบทบาทในการหนุนเสริมความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยที่วางอยู่บน

                       ฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน มีพันธกิจ คือ

                              1.  เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง

                              2.  ผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งที่ Free และ Fair

                              3.  ส่งเสริมบทบาทและขยายอาสาสมัครทางการเมือง
                              4.  เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันกระบวนการทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย

                              5.  เผยแพร่องค์ความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดตามทางการเมืองและกิจกรรมของ We Watch
                       We Watch มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง รวมไปถึงการซื้อเสียง แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีกิจกรรมที่

                       เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาการซื้อเสียง


                              นอกเหนือจากบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว ภาคประชาชนในแบบที่ไม่ใช่การรวมตัวเป็น
                       องค์กรก็มีบทบาทส าคัญเป็นอย่างมาก ดังที่ สมจิตต์ รัตนอุดมโชค เสนอไว้ว่าบทบาทของภาคประชาชนใน

                       แก้ปัญหาการซื้อเสียงประกอบด้วย 1) ควรรับเงินหรือสิ่งของที่ผู้สมัครเสนอให้ แต่ไม่ต้องเลือก 2) ประชาชน
                       ควรเพิ่มความเชื่อมั่นให้ตนเอง เป็นตัวของตัวเองไม่หลงเชื่อคนอื่นหรือขายเสียง คิดถึงผลจากการเลือกคนไม่ดี

                                 24
                       เข้าไปในสภา

                              แนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้ง ตามความคิดเห็นของประชาชนภาค
                       ตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ควรให้การศึกษาแก่ประชาชน ตั้งแต่นักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา

                       เกี่ยวกับโทษของการซื้อเสียง การต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ควรปลุกจิตส านึกประชาชนให้ค านึงถึง
                       ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ให้เลือกคนดี มีคุณธรรม มีผลงาน เหมาะสมเป็นผู้แทนของตนควร

                       รณรงค์ป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ควรยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมเพื่อให้ประชาชนมีรายได้มีฐานะ

                       ทางสังคมให้ก้าวไปสู่การเป็นคนชั้นกลาง ให้มีสัดส่วนมากกว่าชนชั้นล่าง ซึ่งชนชั้นกลางจะเน้นเกียรติศักดิ์ศรี
                       และคุณค่า มากกว่าการมีเงินที่ได้โดยผิดกฎเกณฑ์ของสังคม อนึ่ง กกต. ระดับจังหวัด ควรจะลงพื้นที่ เพื่อให้

                       นโยบายและอบรม กกต. อ าเภอ กกต. หมู่บ้าน เรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง ควรหาวิธีป้องกันและแก้ไข
                       นอกจากนี้วิธีป้องกันการซื้อสิทธิ์ขายเสียงคือการออกกฎหมายลงโทษผู้ขายเสียงและเพิ่มบทลงโทษตาม

                                         25
                       กฎหมายให้หนักยิ่งขึ้น






                       24  สมจิตต์ รัตนอุดมโชค. 2552. การซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 1(2) : 86-100.
                       25  วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ. 2557. แนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง
                       ตามความคิดเห็นของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 1(2) : 64-75.
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35