Page 31 - kpi21588
P. 31

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   2-18



                          2.7 การแก้ปัญหาการซื้อเสียงในต่างประเทศ


                          2.7.1  ฟิลิปปินส์
                              ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกที่พบว่ามีการรวมตัวและมีการมีส่วนร่วม

                       ของประชาชนในรูปแบบของภาคประชาสังคม (civil society) ที่เข้มแข็ง ภาคประชาสังคมของฟิลิปปินส์ได้เข้า
                       มามีบทบาทในการตรวจสอบการเลือกตั้ง (election watchdog) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 สมัยที่การจัดการ

                       เลือกตั้งในสมัยอดีตประธานาธิบดีมาร์กอสปราศจากความสุจริตเที่ยงธรรม บทบาทดังกล่าวมีทั้งบทบาทที่ได้รับ

                       การรับรองจาก กกต. อย่างเป็นทางการ เช่น บทบาทในการนับคะแนนคู่ขนาน และการสังเกตการณ์การ
                       เลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้ง และบทบาทอย่างไม่เป็นทางการโดยองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในการช่วย

                       สอดส่องพฤติกรรมและการด าเนินการของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม เปิดช่องใน
                                                                                                  26
                       การทุจริต หรือไม่เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยเสรี และบริสุทธิ์ยุติธรรม
                              องค์กรภาคประชาสังคมที่มีบทบาทส าคัญในการตรวจสอบการเลือกตั้งและได้รับรองอย่างเป็นทางการ

                       โดย กกต. มี 2 องค์กร คือ นัมเฟรล (NAMFREL: National Citizens’ Movement for Free Elections)
                       และพีพีซีอาร์วี (PPCRV: Parish Pastoral Council for Responsible Voting) บทบาทส าคัญ เช่น การนับ

                       คะแนนคู่ขนาน (parallel count) การสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้ง (poll watching) การให้
                       ความรู้และข้อมูลด้านการเลือกตั้ง (voter education) และการช่วยเหลือประชาชน ณ หน่วยเลือกตั้ง (voter

                       assistance) เป็นต้น นอกจากนั้นฟิลิปปินส์ยังมีองค์กรเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมอื่น ๆ ที่มีบทบาท

                       ส าคัญในการติดตามตรวจสอบการบริหารจัดการเลือกตั้งของ กกต. ให้เป็นไปตามกฎหมายและโดยสุจริตเที่ยง
                       ธรรม เช่น เอซวอทช์ (AES Watch), กลุ่มแนวร่วมเฟธ (FAITH.e Coalition), ซีซีเอเอพี (CCAAP) และเอ็มบี

                                       27
                       เอ็ม (MBM) เป็นต้น
                          2.7.2  อูกันดา

                              องค์กร Alliance for Finance Monitoring (ACFIM) เป็นการรวมตัวของภาคประชาสังคมในการ

                       แก้ไขปัญหาการซื้อเสียง โดยทางองค์กรได้มีการจัดแคมเปญต่อต้านการซื้อเสียงที่ใหญ่ที่สุดซึ่งครอบคลุม 1,427
                       หมู่บ้าน ในช่วงการเลือกตั้งของอูกานดาปี ค.ศ. 2016 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของกลุ่มเป้าหมายได้แก่

                       ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและะผู้สมัครรับเลือกตั้ง หมู่บ้านที่พร้อมเทคะแนนให้ผู้ซื้อเสียง (spillover village) และจะ
                       เป็นการวัดผลกระทบของโครงการที่แปรผันกับความเข้มข้นของแคมเปญ จากการศึกษาพบว่าการจัดแคมเปญ

                       ไม่ว่าจะในรูปแบบใบปลิวหรือประชุมระดับหมู่บ้าน ล้วนไม่ได้ลดการซื้อเสียงของนักการเมืองโดยตรง อีกทั้งยัง

                       สังเกตได้ว่า swing voter ยังคงลงคะแนนให้ฝั่งที่ซื้อเสียงมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามแคมเปญช่วยลด
                       ประสิทธิภาพของการซื้อเสียงได้ด้วยการท าให้ความสัมพันธ์ของผู้ซื้อ-ขายเสียงเกิดความอ่อนแอลง กล่าวคือ

                       เน้นหวังผลลัพธ์ระยะยาวเพื่อการปลูกฝังแนวคิดการต่อต้านการซื้อเสียง หรืออาจรับเงินแต่ไม่จ าเป็นต้องกาให้


                       26  ถวิลวดี บุรีกุล, ปัทมา สูบก าปัง, เลิศพร อุดมพงษ์ และ ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี. 2560. เกาะขอบสนามเลือกตั้งฟิลิปปินส์ 2559. กรุงเทพฯ:
                       สถาบันพระปกเกล้า.
                       27  เรื่องเดียวกัน.
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36