Page 29 - kpi21588
P. 29

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   2-16



                              ป.ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านการปลูกฝัง ปลูกฝังค่านิยมใหม่ในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน

                       สนับสนุนให้เกิดการยกย่องคนดีมีศีลธรรม โดยจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น ค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน Youth
                       2020 ภาพยนตร์โฆษณาชุด “อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในสารคดีสั้นชุด “ปลูกจิตส านึกต่อต้านคอร์รัปชัน เป็นต้น


                              ป.ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกัน ท าหน้าที่เสมือนหมาเฝ้าบ้าน สอดส่องดูแลให้เกิดการคอร์รัปชัน
                       น้อยที่สุด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะลดโอกาสของการโกงกิน กิจกรรมที่เกิดขึ้น เช่น

                       โครงการหมาเฝ้าบ้าน ผลักดันการปฏิรูปกฎหมายด้านการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน เป็นต้น


                              ป.ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการเปิดโปง ท าหน้าที่่สมือนหมาเฝาบ้านสอดส่องดูแลให้เกิดการคอรัปชันน้อย
                       ที่สุด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะลดโอกาสของการโกงกิน มีการแถลงคัดค้านล้างผิดคดีโกง

                                                    21
                       จัดท าโครงการพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติ
                              ในส่วนที่เกี่ยวกับการซื้อเสียง ทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันก็ได้จัดกิจกรรมในส่วนนี้เฉพาะเช่นกัน เช่น

                       กิจกรรม “รวมพลังคนโคราชต้านคนโกง” ประชาชนกว่า 1,000 คน ร่วมเดินรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชั่น

                       ประกาศ “ไม่ให้คนขี้โกงมีที่ยืนในสังคม” โวยมีการกว้านซื้อบัตรประชาชนโกงเลือกตั้งกันแล้ว ขอให้
                                                  22
                       นักการเมืองละอายใจตัวเองบ้าง  นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมแจกการบ้านให้นักการเมืองร่วมกันต้านโกง ด้วย
                       การออกนโยบายต่อต้านการทุจริตส าหรับการหาเสียงเลือกตั้งครั้งหน้าด้วย

                              2.6.3 บทบาทของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาการซื้อเสียงในประเทศ


                          1.  มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (P-NET)


                       เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือในกิจกรรมการตรวจสอบการเลือกตั้ง มีพันธกิจ คือ เสริมสร้างและพัฒนา
                       สังคมประชาธิปไตย ประสานเครือข่าย ทุกภูมิภาค ส่งเสริมการสร้างพลเมือง ที่ตื่นรู้ให้ มีศักยภาพ ในการคัด

                       นักการเมืองที่ดี มีจริยธรรม และมีผลงาน เข้าสู่อ านาจผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่ เสรี โปร่งใส สุจริต และเที่ยง
                       ธรรม พีเน็ตได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการซื้อเสียงโดยออกข้อบัญญัติ 10 ประการพรรคการเมืองดี ๆ ไม่ท า

                       ในลักษณะ “10 ไม่” เริ่มจากไม่แจกเงิน ไม่ซื้อเสียง ไม่จัดเลี้ยง ไม่หลอกลวง ไม่พูดจาเสียดสี ไม่น าพาคนไป

                       ท่องเที่ยว ไม่ใช้รถขนคน ไม่ใช้เงินแผ่นดินข้าราชการจูงใจให้คนลงคะแนน ไม่พนันขันต่อ และไม่ประพฤติ
                                            23
                       ทุจริตหรือท าผิดกฎหมาย  แต่ยังไม่มีกิจกรรมที่ช่วยในการแก้ปัญหาการซื้อเสียงอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเพียง
                       ข้อเสนอแนะเท่านั้น




                       21  องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย). ม.ป. ยุทธศาสตร์ 3 ป. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น.
                       http://www.anticorruption.in.th/2016/th/ourjob.php#ourjob3_section (สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2563).
                       22  Executive Korat. 2561. ลุกฮือเฉียดพันคน“วันต่อต้านคอร์รัปชั่น” เดินขบวนยาวเหยียด“คนไทยตื่นรู้สู้โกง” สับนักการเมืองไม่ให้คนโกงมีที่ยืน

                       ในสังคม. Executive Korat. http://executivekorat.com/archives/11393 (สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562).
                       23  ช่อง 7HD. 2561. เจาะสนามเลือกตั้ง : พีเน็ตออกข้อบัญญัติ. ช่อง 7HD. https://news.ch7.com/detail/318034 (สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม
                       2562).
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34