Page 32 - kpi21588
P. 32

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   2-19



                       ผู้สมัครคนที่ซื้อเสียงก็ได้ รวมถึงพยายามลดความต้องการซื้อเสียงจากฝั่งนักการเมืองที่เป็นต้นเหตุของปัญหา

                       เช่นกัน

                              จากการศึกษาโดย Alliance for Finance Monitoring (ACFIM) (2017) ที่ได้จับตามองการเลือกตั้ง

                       ร่วมกับกลุ่มติดตามในเมืองคาโกมา ประเทศอูกันดา ในปี ค.ศ. 2017 พบว่าการจัดแคมเปญให้นักการเมืองลง
                       ชื่อสัญญาว่าจะไม่ซื้อเสียงนั้น มีผลเพียงไม่เกิน 5 วันก่อนที่จะมีการซื้อเสียงเช่นเดิม อีกทั้งยังมีการแจ้งเบาะแส

                       การซื้อเสียงกว่า 26 ครั้งผ่านทาง SMS และทางโทรศัพท์ โดย 24 ครั้งเป็นการแจ้งเบาะแสการซื้อเสียงจาก

                       ผู้สมัคร Walyomu Moses นอกจากนั้นยังมีรูปแบบการซื้อเสียงผ่านการบริจาคเงินให้โบสถ์ เพื่อใช้โบสถ์เป็น
                       พื้นที่ประชาสัมพันธ์ให้พรรค และยังมีการจ่ายเงินอ านวยความสะดวกให้ไปเลือกตั้งด้วย แต่อย่างไรก็ตาม

                       พบว่า 13 วันก่อนเลือกตั้ง ผู้สมัครใช้งบประมาณลดลงมากโดยส่วนมากเป็นค่าใช้จ่ายจัดท าโปสเตอร์, เสื้อ

                       สกรีนชื่อผู้สมัคร และรถแห่หาเสียง เป็นต้น โดยพบว่าการจับตามองการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิดช่วยลดพฤติกรรม
                       การซื้อเสียงลงได้เล็กน้อย


                          2.7.3  โมซัมบิก
                              การเลือกตั้งของประเทศโมซัมบิกในปี ค.ศ. 2009 ได้มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

                       เพื่อให้ข้อมูลกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 3 ช่องทาง ได้แก่ SMS ให้ความรู้เรื่องการเลือกตั้ง SMS สายด่วนรับรายงาน
                       ปัญหาการจัดการเลือกตั้ง และหนังสือพิมพ์ให้ความรู้การเลือกตั้ง ซึ่งสังเกตผลลัพธ์เชิงบวกได้จากการที่มีผู้มาใช้

                       สิทธิเลือกตั้งจ านวนมากขึ้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิดความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมกับการจับตาการเลือกตั้งด้วยความ

                       รับผิดชอบมากขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาความผิดพลาดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการลงคะแนนเลือกตั้งลดน้อยลง
                       ในขณะที่ SMS 2 ส่วนแรกเป็นการให้ข้อมูล สายด่วนรายงานปัญหาช่วยให้เกิดการรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น

                       ตลอดช่วงการเลือกตั้งและท าให้เกิดการรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น

                              นอกจากนั้นหนังสือพิมพ์มีส่วนช่วยอย่างมากในการให้ความรู้ด้านการเลือกตั้ง รวมถึงประชาสัมพันธ์

                       สร้างความรู้แก่พลเมืองได้ในระยะยาว จะเห็นได้ว่าการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์มีผลต่อพฤติกรรมการ

                       ลงคะแนนเลือกตั้งและปัญหาในช่วงเลือกตั้งที่ลดลง

                          2.7.4  เกาหลีใต้

                              เมื่อประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา การซื้อเสียงแพร่หลายเป็นอย่างมากในเกาหลีใต้ ในขณะที่ปัจจุบันการซื้อ
                       เสียงเกิดขึ้นน้อยมากจนแทบไม่มี ซึ่งกลุ่มประชาสังคมมีบทบาทส าคัญในการลดการซื้อเสียง ในการเลือกตั้ง

                       ท้องถิ่นปี ค.ศ. 1991 พวกเขาสร้างพันธมิตรขนาดใหญ่ในการรณรงค์การเลือกตั้งที่เป็นธรรมทั้งในระดับชาติ

                       และระดับท้องถิ่น ติดตามและรายงานการซื้อเสียงและความผิดปกติอื่น ๆ ภาคประชาสังคมสร้างพันธมิตรทาง
                       การเมืองในการต่อต้านการใช้เงินในทางมิชอบในปี ค.ศ. 1996 กดดันนักการเมืองให้ควบคุมการใช้เงินหาเสียง

                       อย่างโปร่งใส

                               ในค.ศ.ปี 2000 The Citizens' Coalition for Economic Justice (CCEJ) ได้ประกาศรายชื่อ

                       ผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมส าหรับการเลือกตั้งสมัชชาแห่งชาติที่จะเกิดขึ้นและต่อมากลุ่มพันธมิตรภาคประชาสังคม
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37