Page 33 - kpi21588
P. 33

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   2-20



                       ขนาดใหญ่เรียกร้องให้พรรคการเมืองไม่เสนอชื่อผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมและเอาชนะพวกเขาในการเลือกตั้งครั้ง

                       ใหญ่ ซึ่งผู้สมัครที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่ได้รับการตัดสินหรือถูกกล่าวหาว่าทุจริต ในการเลือกตั้ง
                       สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2547 มีผู้สมัคร 129 คน หรือ 63% จากจ านวนผู้สมัครทั้งหมด 206 คนที่

                       ถูกขึ้นบัญชีด าได้แพ้การเลือกตั้ง แคมเปญนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการท างานของภาคประชาสังคมที่
                               28
                       ร่วมมือกัน

                              สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง ได้กล่าวถึงการศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐเกาหลีถึงการ

                       ขจัดปัญหาการซื้อเสียง ซึ่งทางคณะกรรมการการเลือกตั้งเกาหลีได้ให้ค าตอบ 4 ประการดังต่อไปนี้
                              1)  มีการแก้กฎหมายเพิ่มโทษแก่ผู้กระท าผิดใช้เงินซื้อเสียง ทั้งโทษอาญาติดคุก และโทษปรับที่รุนแรง

                              2)  ชาวบ้านที่รับเงิน หรือรับสิ่งของ หากถูกจับได้ ไม่มีโทษอาญา แต่มีโทษปรับเป็นมูลค่าเงิน 10 เท่า

                              3)  คณะกรรมการการเลือกตั้งเอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมาย ไม่เกรงใจพรรคการเมืองใด แม้
                                 เป็นพรรครัฐบาล

                              4)  ประชาชน มีความตื่นตัวในการใช้สิทธิให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง โดยสามารถเชื่อมโยงได้ว่า
                                                                                                   29
                                 การเลือกตั้งที่สุจริตน าไปสู่การเมืองคุณภาพและน าไปสู่บ้านเมืองที่เจริญก้าวหน้า

                          2.7.5  อินโดนีเซีย

                              การซื้อเสียงยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของการเลือกตั้งภายในอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียมีองค์กรภาค

                       ประชาสังคมที่คอยสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ได้แก่ Perludem, the People’s Voter Education Network
                       (JPPR) และ the Independent Election Observer Committee (KIPP) รวมไปถึงกลุ่มสังเกตการณ์การซื้อ

                       เสียงโดยเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มจับตาทุจริตอินโดนีเซีย (Indonesia Corruption Watch) และ กลุ่มอินโดนีเซีย

                       โปร่งใส (Transparency International Indonesia)

                              กิจกรรมของกลุ่มจับตาทุจริตอินโดนีเซียเพื่อป้องกันการซื้อเสียง รวมไปถึงการรายงานการซื้อเสียง

                       อาทิเช่น การเชิญสาธารณชนให้รายงานการซื้อเสียงผ่านทางเว็บไซต์ politikuang.net  ในช่วงการเลือกตั้ง
                                                                                               30
                       ประธานาธิบดีปี 2014 ที่ผ่านมา หลักสูตรการต่อต้านการทุจริต (Anti – Corruption Course: SAKTI) โดย

                       คัดเลือกเยาวชน 22 คนเข้าร่วมในหลักสูตร เป็นต้น





                       28  Jong – sung You. n.d. Development of Corruption Control in South Korea.
                       https://www.againstcorruption.eu/wp-content/uploads/2015/05/Process-Tracing-of-Corruption-Control-in-South-Korea.pdf
                       (Access January 24, 2019).
                       29  มติชนออนไลน์. 2560. “สมชัย” ร่ายยาวแจงปมกกต.บินดูงานเกาหลี ระบุ กกต.แดนโสม เอาจริงกับคนซื้อเสียง มีโทษปรับรุนแรง. มติชน

                       ออนไลน์https://www.matichon.co.th/politics/news_485043 (สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2563).
                       30  Lili Hasanuddin. 2014. After a Lively Election, What’s Next for Indonesia’s Mobilized Civil Society?. The Asia Foundation.
                       https://asiafoundation.org/2014/08/13/after-a-lively-election-whats-next-for-indonesias-mobilized-civil-society/ (Access
                       December 28, 2020).
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38