Page 41 - kpi21588
P. 41

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   4-1



                                                                บทที่ 4




                                                              ผลการศึกษา





                              การศึกษาบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อ

                       พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทยครั้งนี้ ได้ด าเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้ง
                       การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการศึกษาเอกสาร สามารถสรุปผลการศึกษา โดยแบ่งเป็นหัวข้อ

                       ต่าง ๆ ได้ ดังนี้


                              4.1 พัฒนาการและรูปแบบของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

                              4.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียง
                              4.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

                              4.4 แนวโน้มสถานการณ์ซื้อสิทธิขายเสียงในอนาคต
                              4.5 แนวทางเพื่อส่งเสริมบทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต

                       เที่ยงธรรม


                       4.1 พัฒนาการและรูปแบบของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

                              จากการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ผู้ให้ข้อมูล
                       กลุ่มที่มีอายุมากที่สุด มีประสบการณ์ร่วมในการเลือกตั้งในราวปี พ.ศ. 2518 และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการ

                       น าเสนอผลการศึกษาในส่วนนี้ ผู้วิจัยจึงได้แบ่งการน าเสนอออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้


                              4.1.1 พัฒนาการและรูปแบบของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมในอดีต (ช่วงปี พ.ศ. 2518-

                       2554)
                                     4.1.1.1 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก

                                            ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลจากทุกกลุ่ม พบว่า รูปแบบ “การใช้ระบบหัวคะแนน” เป็น

                       รูปแบบของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนมากที่สุด โดยมีวิธีการที่แตกต่างกันไปในแต่
                       ละพื้นที่ ในอดีตมักจะจ่ายเงินให้ในลักษณะเหมารวม ทั้งส่วนที่จะให้หัวคะแนนและส่วนที่ให้น าไปซื้อเสียงกับ

                       ชาวบ้าน โดยนักการเมืองจะจ่ายผ่านหัวคะแนนที่มีความน่าเชื่อถือ/เป็นที่ยอมรับ เช่น ผู้น าในชุมชน ก านัน
                       ผู้ใหญ่บ้าน ในบางกรณีก็จะให้ญาติของหัวคะแนนไปช่วยแจก ซึ่งเกิดในลักษณะของความรู้สึกใกล้ชิด ความ

                       เชื่อมั่นศรัทธา การให้ความเคารพ หรือ เป็นความเกรงกลัวในอิทธิพลของต าแหน่งหน้าที่หรือบทบาทที่มีใน

                       ชุมชน เป็นระบบอุปถัมภ์เชิงพื้นที่ระหว่างหัวคะแนนกับชาวบ้าน
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46