Page 272 - kpi21298
P. 272

ขั้นที่ 2 ควรศึกษาและพิจารณาวิธีการรวบรวมหรือสังเคราะห์ตัวแปรแต่ละวิธี แต่ละ
                     เงื่อนไขและความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกันเพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่มีคุณภาพสอดคล้องกับ

                     เป้าหมายในการนำไปใช้มากขึ้น

                                   ขั้นที่ 3 การกำหนดน้ำหนักของตัวแปร ควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับธรรมชาติของตัว
                     แปร และเป้าหมายในการนำไปใช้ประโยชน์



                     10. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


                             ในการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้าง Platform Good

                     Governance Mapping ในการติดตามและประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรใน
                     ประเทศไทย” ครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้สำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยงานวิจัยเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยใน

                     ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตัวชี้วัดธรรมาภิบาล และงานวิจัยเกี่ยวกับ Good

                     Governance Mapping ดังนั้น เนื้อหาในส่วนนี้จึงเป็นการนำเสนองานวิจัยที่สำรวจได้ ดังนี้
                              1. งานวิจัยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวชี้วัด

                                รายงานการวิจัยเรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาลของ บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้ (2544)

                     ฉบับนี้เปนการวิจัยเอกสาร ซึ่งมีวัตถุประสงคหลัก 3 ประการคือ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูล แนวปฏิบัติและ
                     ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลทั้งในประเทศไทยและทางต่างประเทศ 2) เพื่อจําแนกและจัดกลุ่มตัวชี้วัดธรรมาภิบาล

                     และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างตัวชี้วัดธรรมาภิบาล  นอกจากส่วนที่ 1 ซึ่งเป็นบทนําที่กล่าวถึง

                     ความสําคัญของงานวิจัย วัตถุประสงค์ระเบียบวิธีการศึกษาและประโยชนของงานวิจัยแล้ว รายงานฉบับนี้ยัง
                     ประกอบด้วยเนื้อหาอีก 4 ส่วน กล่าวคือส่วนที่ 2  เป็นการรวบรวมและเรียบ

                     เรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับธรรมาภิบาล ซึ่งครอบคลุม วิวัฒนาการ นิยาม และองค์ประกอบของ

                     ธรรมาภิบาล ส่วนที่ 3 เป็นเรื่องธรรมาภิบาลในประเทศไทยและต่างประเทศซึ่งกล่าวถึงการใช้และตัวชี้วัด
                     ธรรมาภิบาลในต่างประเทศ (สหรัฐอเมริกา  ฟลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ บอสซาวานา) ส่วนที่ 4 เป็น กรอบ

                     ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลที่มี 5 ประเด็นหลัก คือ ความชอบธรรม ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ความมี

                     ประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วม ในแต่ละประเด็นได้จัดหมวดหมู่ออกเป็น 4 ด้าน คือ กฎหมาย สังคม
                     เศรษฐกิจ และการเมือง นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัด และตัวอย่างตัวชี้วัดทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สําหรับ

                     ในส่วนที่ 5 นั้บเป็นข้อเสนอแนะ และสรุปผลการวิจัย สาระสําคัญของส่วนนี้ประกอบด้วย ประเด็นต่าง ๆ

                     ดังนี้คือการเลือกใช้คําธรรมาภิบาล กรอบธรรมาภิบาลและองค์ประกอบ เรียนรู้การใช้ธรรมาภิบาลจาก
                     ต่างประเทศ  ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ธรรมาภิบาล สํารวจความโปร่งใสในประเทศ การจัดทําตัวชี้วัด






                                                         โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)   236
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277