Page 265 - kpi21298
P. 265
2. แนวทางในการสร้างหรือพัฒนาตัวชี้วัด
สำหรับหลักการสร้างหรือพัฒนาตัวชี้วัดนั้น Johnstone (1981) ได้กำหนดหลักการสร้าง
ตัวชี้วัดไว้ 3 ขั้นตอน สามารถอธิบายได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การคัดเลือกตัวแปร ในขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการจัดกลุ่มตัวแปรที่พิจารณา
แล้วว่ามีความสัมพันธ์กับสภาพการณ์ที่ต้องการศึกษาโดยระบุลักษณะของตัวแปรให้ครอบคลุมกับสภาพที่
ต้องการศึกษาอย่างละเอียดและชัดเจน โดยอาศัยจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ทฤษฎี หรือผู้เชี่ยวชาญ
ร่วมกันพิจารณาการนำตัวแปรที่จะสร้างเป็นตัวชี้วัด ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ประเมินหรือนำไปใช้
โดยอาจยึดแนวทางจากทฤษฎี งานวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ของผู้สร้างหรือพัฒนาเองหรืออาจใช้
หลายทางร่วมกันก็ได้ โดยมีหลักสำคัญคือ ไม่ควรให้องค์ประกอบหรือตัวแปรมีจำนวนมากหรือซ้ำซ้อนกัน
เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองและแปลความหมายได้ยาก โดยควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปรหลายตัวที่มุ่งวัด
คุณลักษณะเดียวกันและตัวแปรที่มีความคาดเคลื่อนในการวัด ซึ่งควรจะพิจารณาคัดเลือกตัวแปรที่มี
ความสัมพันธ์กันสูงกับสิ่งที่ต้องการศึกษาหากมีตัวแปรใดที่สัมพันธ์กันสูงและมุ่งวัดในสิ่งเดียวกัน
ควรตัดสินใจเลือกใช้ตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง เพื่อลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการประเมินสิ่งที่ศึกษาใน
ภายหลัง ซึ่งแสดงดังภาพประกอบที่ 2.2 ดังนี้
สัมพันธ์ต่ำ
ตัวแปลที่ 1
สัมพันธ์สูง
ตัวแปลที่ 3
สัมพันธ์สูง สัมพันธ์ปานกลาง
สิ่งที่ต้องการวัด
สัมพันธ์สูง
ตัวแปลที่ 2
สัมพันธ์ต่ำ
ภาพประกอบที่ 2.2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่นำมาสังเคราะห์เป็นตัวชี้วัด
ที่มา : Johnstone, J. N. (1981)
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 229