Page 61 - 21211_fulltext
P. 61
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ที่มีหน้าที่กำกับดูแล ให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินในภาพรวม ดังนั้น
มาตรการและข้อเสนอการควบรวมหน่วยงานท้องถิ่นขนาดเล็ก อาจจะริเริ่มโดยรัฐบาล
หรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาล
ข้อเสนอให้ เทศบาล และ อบต. ควบรวม จำเป็นต้องมีเหตุผลสนับสนุน
ซึ่งคณะผู้วิจัยนี้ขอเสนอ “เหตุผลที่สมควรควบรวม” (rationale for amalgamation)
โดยเรียกย่อ R1 ถึง R4
R1: เหตุผลที่ควรควบรวม เนื่องจากท้องถิ่นนั้นมีผลการทำงานงานต่ำกว่าเกณฑ์
หมายเหตุ วัดด้วยคะแนน LPA (local performance assessment)
R2: เหตุผลที่ควรควบรวมเนื่องจากท้องถิ่นนั้นมีข้อจำกัดด้านการเงิน และ
ต้นทุน ทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนสูงกว่าเกณฑ์
R3: เหตุผลที่ควรควบรวมเนื่องจากการบริหารของท้องถิ่นนั้นๆ ใช้ทรัพยากร
ไม่คุ้มค่า วัดจากจำนวนบุคลากรต่อประชากรพันคน ที่สูงกว่าเกณฑ์
มาตรฐาน
R4: เหตุผลที่ควรควบรวมเนื่องจากการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า วัดจากสัดส่วนของ
บุคลากรต่อประชากรพันคน (staff/pop1000) สูงกว่าค่ามาตรฐาน
ต่อจากการกำหนดมโนทัศน์ คณะผู้วิจัยใช้ผลการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยน้อมนำ
หลักสถิติมาประยุกต์ในการพิจารณาการกระจายทางสถิติของตัวแปรสำคัญๆ
(statistical distribution of variable) กล่าวคือ ศึกษา statistical distribution of
LPA ซึ่งทำให้เข้าใจว่า คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 77.40 คะแนน (คะแนนเต็ม 100) คะแนน
LPA ระดับมัธยฐานเท่ากับ 78.24 คะแนน จำแนกกลุ่มเทศบาล และ อบต. ต่อจากนั้น
กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ คำนวณความน่าจะเป็นที่ LPA < LPA*
แบบจำลอง multivariate probit นำมาประยุกต์ใช้ในงานนี้เพื่อคำนวณ R1 ถึง
R4 ซึ่งตัวแปร และนำมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอการควบรวม กล่าวในเชิงอุปมา
อุปมัย R1 – R4 เปรียบเป็นค่าความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ สมาชิกแต่ละคนมีโอกาส
การเป็นโรคด้วยกันทั้งสิ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกเสื่อม
โรคความจำเสื่อม ฯลฯ แต่ถ้าผลรวมของ R1-R4 สูง หมายถึง มีเหตุผลอย่างเข้มข้น
ในการควบรวม
2 สถาบันพระปกเกล้า