Page 60 - 21211_fulltext
P. 60

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     (เช่น ร้อยละ 50) หมายความว่า สัดส่วนของรายจ่ายการจัดบริการสาธารณะหรือ
                     รายจ่ายลงทุน ถูกจำกัด อาจจะเป็นผลเสียต่อประชาชนในท้ายที่สุด นอกจากนี้
                     เป็นมาตรการป้องปรามการกระทำที่ไม่สมควร เช่น ผู้บริหารท้องถิ่นบรรจุพนักงาน
                     เกินกว่าความจำเป็น เพียงต้องการใช้ญาติพี่น้องมาทำงานและได้รับเงินเดือนจาก

                     หน่วยงาน แต่ส่งผลทางลบต่อบริการสาธารณะในท้ายที่สุด

                           การวิเคราะห์กรณีศึกษา (case studies)

                           เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้องและบริบทการทำงานแตกต่างกัน  ทีมวิจัย
                     ใช้แนวทางการลงพื้นที่ภาคสนาม (field survey) เพื่อประมวลข้อมูลเชิงปริมาณและ

                     คุณภาพของเทศบาล และ อบต. ประเภทข้อมูลที่นำมาประมวลได้แก่ ก) ข้อมูลพื้นฐาน
                     เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่รับผิดชอบ ความหนาแน่นของประชากร สภาพ
                     ภูมิศาสตร์ ข) ข้อมูลการคลังทั้งรายได้และรายจ่าย ค) ข้อมูลการบริหารองค์กร ทัศนคติ

                     ของผู้บริหาร การรับรู้นโยบายการควบรวมของรัฐบาล การเตรียมการเกี่ยวกับควบรวม
                     ง) ความคิดเห็นต่อมาตรการควบรวมในพื้นที่นั้น ๆ ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับ
                     มาตรการ และหากควบรวมจะควบรวมกับหน่วยงานใด


                     2.4 การวิเคราะห์นโยบาย



                           หัวข้อการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก สะท้อนการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูป

                     โครงสร้าง ซึ่งโดยทั่วไปเป็นความต้องการของรัฐบาล หน่วยงานกำกับ และหน่วยงาน
                     ระดับพื้นที่ เนื่องจากตระหนักว่า การทำงานของ เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็ก
                     มีจุดอ่อนหรือจุดด้อย เช่น การจัดบริการไม่ครบถ้วน ต้นทุนต่อหน่วยสูงเกินไป รัฐบาล

                     ต้องให้การอุดหนุนต่อหัวสูงเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะมีลักษณะ top-down
                     หรือ bottom-up หรือทั้งสองแนวทาง

                           จำเป็นต้องขยายความต่อว่า เป็นความจริงที่เทศบาล และ อบต. มีอิสระใน

                     การดำเนินการหมายความถึง การออกแบบระบบให้มีงบประมาณของตนเอง
                     การอนุมัติงบประมาณดำเนินการจากภายในหมายถึงสภาท้องถิ่น กำกับฝ่ายบริหาร
                     ในเบื้องต้น แต่ความจริงการทำงานของ เทศบาล และ อบต. ยังอยู่ภายใต้การกำกับ
                     ของรัฐบาลและราชการส่วนกลาง และถือว่าบทบาทของรัฐบาลและส่วนราชการอื่น





                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   2
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65