Page 59 - 21211_fulltext
P. 59
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
๏ สมการ 6A staffpop1000 หมายถึง จำนวนพนักงานต่อประชากรพันคน
(หน่วย : คน)
๏ สมการ 6B capxstaff หมายถึง รายจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนพนักงาน
ต่อประชากรหนึ่งคน (หน่วย : บาทต่อคน)
๏ สมการ 6C capxserv หมายถึง รายจ่ายการให้บริการสาธารณะต่อ
ประชากรหนึ่งคน (หน่วย : บาทต่อคน)
สมการที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าและขนาดความต้องการบริการ
สาธารณะ (ประชากร)
ตามตำราเศรษฐศาสตร์ ฟังก์ชันต้นทุนต่อหน่วย (unit cost function)
โดยทั่วไปมิใช่ลักษณะเส้นตรง (nonlinear) และมีคุณสมบัติ ก) ต้นทุนต่อหน่วยลดลง
จนกระทั่งถึงจุดต่ำสุด สะท้อนศักยภาพการประหยัดจากขนาด ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไข
scale < scale* โดยที่ scale* = optimal scale ข) ต้นทุนเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดองค์กร
ใหญ่เกินระดับหนึ่ง scale > scale*
2.3 การบริหารเทศบาล และ อบต.
จากมุมมองเศรษฐศาสตร์สถาบัน
เศรษฐศาสตร์สถาบัน (institutional economics) เป็นสำนักความคิด
ที่ตระหนักถึงความสำคัญของ “สถาบัน” ซึ่งหมายรวมถึงกฎหมาย กติกา ระเบียบ
แรงจูงใจ ตัวละครคือองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน สมาชิกในองค์กร หน่วยงานกำกับ เป็นต้น
(North, 1990) เทศบาล และ อบต. เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐซึ่งจัดตั้งโดยอิงกฎหมาย/
ระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามภายใต้ เช่น พรบ.เทศบาล พ.ศ. 2496 พรบ.องค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ระเบียบการบริหารงบประมาณประจำปี ระเบียบว่าด้วย
เงินสะสมหรือเงินคงคลัง ระเบียบว่าด้วยรายจ่ายบุคลากรไม่เกินร้อยละ 40 ฯลฯ
การกำหนดกฎระเบียบเหล่านี้มีความเป็นมา หรือมีเหตุผลประกอบ เช่น ระเบียบวินัย
ทางการเงินการคลังท้องถิ่น การระบุมิให้เทศบาล หรือ อบต. จัดสรรรายจ่ายบุคลากร
เกินกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ต่อรายจ่าย เป็นหลักการเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น
ระมัดระวังในการจ้างบุคลากรท้องถิ่น หากท้องถิ่นจัดสรรรายจ่ายบุคลากรมากเกินไป
2 สถาบันพระปกเกล้า