Page 56 - 21211_fulltext
P. 56

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     มีความรู้เฉพาะด้านในด้านการศึกษา สุขภาพ สวัสดิการ สิ่งแวดล้อม งานช่าง
                     ความเข้าใจภูมิศาสตร์ของพื้นที่ การบริหารความเสี่ยงเมื่อเกิดภัยพิบัติ ฯลฯ  เมื่อองค์กร
                     มีขนาดใหญ่ขึ้นก็จำเป็นต้องขยาย “กอง” เพิ่มจำนวนพนักงานปฏิบัติการ การจัด
                     กิจกรรม-บริการซึ่งเป็นรายละเอียดมีข้อปลีกย่อย (เพราะกิจกรรมของเทศบาล

                     และ อบต. เกิดขึ้นต่อเนื่องทุกวัน)

                           เพื่อความชัดเจน ขอใช้สัญลักษณ์และสมการในการสื่อสารและอธิบาย
                     การจัดสรรทรัพยากรของท้องถิ่น


                           สมการที่ 1

                                               S = F(K, L, T, B, Z)

                           สัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายต่อไปนี้
                            ๏ S   หมายถึง การบริการสาธารณะของท้องถิ่น (local public services)

                            ๏ K   หมายถึง ทุน
                            ๏ L   หมายถึง แรงงาน
                            ๏ T   หมายถึง เทคโนโลยี

                            ๏ B   หมายถึง งบประมาณท้องถิ่น ซึ่งจำแนกออกเป็นสองมิติ ได้แก่
                                   งบประมาณรายรับ และ งบประมาณรายจ่าย
                            ๏ Z   หมายถึง ปัจจัยอื่น ๆ สะท้อนมิติเชิงคุณภาพ เช่น ความเชื่อถือต่อ

                                   องค์กร สัมพันธภาพระหว่างผู้บริการ พนักงาน และประชาชน

                           สมการที่ 2  ปัจจัยนำเข้าของเทศบาล และ อบต. สะท้อนในการจัดทำ
                     งบประมาณ คือ งบประมาณรายรับ และงบประมาณรายจ่าย

                       สมการ 2A สะท้อนรายได้ของท้องถิ่น แทนด้วยสัญลักษณ์  R = R1 + R2 + R3

                           โดยที่ R หมายถึง งบประมาณรายได้ จำแนกออกเป็น

                            ๏ รายได้ที่จัดเก็บเอง (R1)
                            ๏ รายได้จากภาษีฐานร่วม (R2)

                            ๏ และรายได้จากเงินอุดหนุน (R3)
                            ๏ เงินสะสม ทรัพย์สิน ซึ่งสามารถนำมาจ่ายขาดใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน





                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   2
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61