Page 51 - 21211_fulltext
P. 51
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
คณะวิจัยได้พัฒนากรอบวิจัยเชิงประจักษ์ ว่าด้วย “เหตุผลสนับสนุนการควบรวม”
(rational for amalgamation) โดยอธิบาย“จุดอ่อน”ในการบริหารท้องถิ่นขนาดเล็ก -
ซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุน-การจัดบริการที่ไม่ครบถ้วน-คุณภาพของบริการสาธารณะ
โดยนิยามศัพท์ว่า R1 – R4 พร้อมกับขยายความต่อไปนี้
R1 (เหตุผลที่ 1) หน่วยท้องถิ่น ขนาดเล็กที่ไม่สามารถจัดบริการสาธารณะ
ไม่ครบถ้วนและได้รับการประเมิน LPA (local performance assessment โดย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานกำกับโดยตรง) สมควรได้รับ
การควบรวม
R2 (เหตุผลที่ 2) ท้องถิ่นขนาดเล็กเกินไป ทำให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุน
สูงมาก (วัดจากเงินอุดหนุนต่อหัวสูงเกินค่ามาตรฐาน) เป็นการสมควรที่จะควบรวม
เพื่อการประหยัด
R3 (เหตุผลที่ 3) ท้องถิ่นขนาดเล็กทำให้รายจ่ายบุคลากรต่อหัวสูงมาก
(เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน มีเหตุผลสมควรควบรวม
R4 (เหตุผลที่ 4) ท้องถิ่นขนาดเล็กที่การจ้างบุคลากรไม่คุ้มค่า (วัดจากพนักงาน
ประชากรพันคน staff/pop1000) สูงเกินมาตรฐาน มาตรการควบรวมให้มีขนาด
เหมาะสม หมายถึงการประหยัดรายจ่ายและการบริการทรัพยากรบุคคลที่คุ้มค่า
สมควรที่จะควบรวม
หมายเหตุ ข้อเสนอ R1-R4 เป็นตัวแปรที่วัดได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์
เรานำมาพิจารณาร่วมกันทั้ง 4 ตัวชี้วัดโดยใช้ แบบจำลอง multivariate probit
14
ขยายความถึง หากผลคำนวณ R1-R4 บ่งชี้ว่า “ใช่” (yes,no หรือ 0/1) ตัวอย่างเช่น
ท้องถิ่น A ประเมินด้วย R1-R4 ได้คะแนนรวมกัน เท่ากับ 4 ตีความว่า เป็นสมควรที่จะ
ควบรวมอย่างยิ่ง ท้องถิ่น B, C, D ได้คะแนนรวมกัน 3,2,1 ความเข้มข้นหรือเหตุผล
ที่ควบรวมย่อมจะลดลง โดยนัยนี้คะแนนจาก multivariate probit ช่วยบ่งบอกลำดับ
14 ขยายความ R1 พิจารณาจากคะแนน LPA: local performance assessment ต่ำกว่าเกณฑ์
มาตรฐาน R2 เท่ากับ เงินอุดหนุนต่อหัวที่รัฐบาลสนับสนุนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน R3 เท่ากับ staff/
pop1000 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และ R4 เท่ากับ รายจ่ายบุคลากรต่อประชากรเกินกว่าเกณฑ์
มาตรฐาน
1 สถาบันพระปกเกล้า