Page 50 - 21211_fulltext
P. 50
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
แล้วว่าด้วยแนวทางการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็กของกระทรวงมหาดไทย ลำดับต่อมา
คือการวิจัยภาคสนาม โดยกระจายทีมวิจัยลงไปทำกรณีศึกษา (case study)
ของเทศบาล และ อบต. การสอบถามข้อมูลทั้งมิติเชิงปริมาณและคุณภาพเพิ่มเติม
ซึ่งไม่สามารถจะค้นได้จากข้อมูลทุติภูมิ การสนทนาและสัมภาษณ์จากพื้นที่มี
ความสำคัญ นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ คณะวิจัยได้จัดทำแบบสอบถาม
สำหรับ เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็ก (จำนวน 500 แห่งที่มีประชากรน้อยที่สุด
เรียกว่าบัญชี rank500) เพื่อทราบสถานการณ์ของท้องถิ่นแต่ละแห่ง เช่น การรับรู้
นโยบายควบรวมของรัฐบาล มีการเตรียมการควบรวมมากน้อยเพียงใด ทัศนคติของ
ฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ และภาคประชาชน ส่วนที่สาม การประยุกต์
หลักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์นโยบาย (policy analysis)
ที่มองว่า การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ต้องดำเนินการในลักษณะ
“กระบวนการ” หมายถึง [A] การระบุเหตุผลและความจำเป็นของนโยบาย (policy
identification) [B] การกำหนดวาระของนโยบาย (policy agenda) ในบริบทนี้
หมายถึงการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก เป็นข้อพิจารณาร่วมกันทั้งในคณะรัฐมนตรี
รัฐสภา สื่อสารมวลชน และประชาชนทั่วไป [C] การขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติ
(policy implementation) และ [D] การประเมินนโยบาย (policy evaluation)
เท่าที่คณะวิจัยประเมิน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้ทำบทบาทสำคัญ
กล่าวคือ การทำให้เป็น “วาระแห่งชาติ” (ขั้นตอน A+B) แต่ยังไม่ก้าวถึงขั้นนำไปปฏิบัติ
[C] โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินการหลายปี และหน่วยงานอื่น ๆ กล่าวคือ
สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
สำนักงบประมาณ น่าจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงในภาคปฏิบัติ
เพราะการสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าการควบรวมท้องถิ่นหมายความอย่างไร? (อาจจะมี
ความเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น มองว่าการควบรวมท้องถิ่นหมายถึงการกลับไปยังระบบ
รวมศูนย์อำนาจ ความจริงการควบรวมหน่วยงานท้องถิ่นขนาดเล็ก เป็นการปรับ
องค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการประหยัด ทุกพื้นที่ของประเทศยังคงมีเทศบาล
และ อบต. ให้บริการสาธารณะ เพียงแต่จำนวนหน่วยงานท้องถิ่นจะลดลงจากปัจจุบัน
(7,775 แห่ง อาจจะเหลือ 5-6 พันหน่วยงาน)
สถาบันพระปกเกล้า 1