Page 52 - 21211_fulltext
P. 52

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     ความสำคัญ (priority for amalgamation) ส่วนที่สี่ ทบทวนประสบการณ์การควบรวม
                     ท้องถิ่นขนาดเล็กในต่างประเทศ

                     2.1 ทบทวนทฤษฎี การประหยัดจากขนาด
                           และศักยภาพการควบรวม



                           การประหยัดจากขนาด (economies-of-scale) เป็นหลักการสำคัญซึ่งมี

                     คำอธิบายในตำราเศรษฐศาสตร์และการจัดการ มโนทัศน์ในเรื่องนี้เกี่ยวกับการค้นหา
                     “ขนาดอันเหมาะสม” (optimal scale) ขององค์กร (ใช้กับทั้งภาคเอกชนและ
                     หน่วยงานของรัฐ) ขอขยายความว่า หลักการนี้มีรากฐานของ ก) ทฤษฎีการผลิต หรือ

                     ฟังก์ชั่นการผลิต (production function) ซึ่งสะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและ
                     ปัจจัยนำเข้า การวิเคราะห์ “ผลตอบแทนจากขนาด” (return to scale)  สะท้อน
                     ในความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต (output) และ ปัจจัยนำเข้า (factor input)

                     ขอขยายความด้วยสมการเพื่อความชัดเจน Q = a Kb Lc โดยที่ Q หมายถึง ผลผลิต
                     หรือภารกิจขององค์กร ในบริบทของท้องถิ่นหมายถึงการจัดบริการสาธารณะเพื่อสนอง
                     ความต้องการของประชาชน สถานประกอบการ นักท่องเที่ยว ความจำเป็นต้องแก้ไข

                     ปัญหาความเดือดร้อน ความจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ  ตัวแปร K
                     หมายถึง ปัจจัยนำเข้าส่วนที่เป็นทุน (อาคาร สิ่งก่อสร้าง อุปกรณ์) และ L หมายถึง
                     ปัจจัยนำเข้าส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากร ซึ่งครอบคลุมผู้บริหารองค์กร พนักงานระดับกลาง

                     พนักงานปฏิบัติการ  “ผลตอบแทนจากขนาด” (return to scale) จำแนกออกเป็น
                     3 ประเภท อย่างแรก ผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ (b+c=1) อย่างที่สอง ผลตอบแทนต่อ
                     ขนาดเพิ่มขึ้น (b+c >1) อย่างที่สาม ผลตอบแทนต่อขนาดลดลง (b+c<1)


                           ต้นทุนขององค์กร (cost of organization) เกี่ยวข้องกับการประหยัดจากขนาด
                     ทุกองค์กรต้องใช้ทรัพยากร (ทุน แรงงาน เทคโนโลยี) ซี่งค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน   ต้นทุน
                                                                                  15

                        15    ขออ้างบทความของ Triebs et.al. 2016 ความว่า Almost the entire literature on the
                     estimation of economies of scope follows the seminal work of Baumol et al. (1982)
                     and employs a cost function based approach, which allows identification of ‘‘the
                     production technology of the firms in an industry’’ (p. 445). That is, it is assumed that
                     both diversified and specialized firms can be represented by a common technology




                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   1
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57