Page 57 - 21211_fulltext
P. 57
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
สมการ 2B สะท้อนงบประมาณรายจ่ายของท้องถิ่น คือ
E = E(E1, E2, E3) = E1+E2+E3
โดยที่ E หมายถึง งบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาล /อบต. จำแนก
ออกเป็น
๏ E1 หมายถึง งบประมาณรายจ่ายด้านบุคลากร
๏ E2 หมายถึง งบประมาณรายจ่ายด้านการลงทุน
๏ E3 หมายถึง งบประมาณรายจ่ายด้านการจัดบริการสาธารณะ
๏ E4 หมายถึง การทำงบประมาณเพิ่มเติม (กลางปี) ตามความจำเป็น
๏ E5 หมายถึง การกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายลงทุน
สมการที่ 3 บัญชีงบดุลแสดงฐานะการเงิน ทรัพย์สินและเงินสะสมของเทศบาล/
อบต.
A = C + L
๏ A หมายถึง ทรัพย์สิน
๏ C หมายถึง ทุน
๏ L หมายถึง หนี้สิน
เทศบาล/อบต. เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นหน่วยงาน
ต้องจัดทำบัญชีงบดุล (ซึ่งประกอบด้วย ทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน) และบัญชีรายได้-
รายจ่ายตามระเบียบ (เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ๆ) เพื่อตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อ
การบริหารและการตัดสินใจภายในองค์กร (เช่น ผู้บริหารวิเคราะห์สถานการณ์จาก
การพิจารณารายได้-รายจ่าย-เงินสะสม-หนี้สิน เพื่อการจัดการที่ดี ลดความเสี่ยงที่อาจ
จะเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การกันเงินไว้เผื่อ
เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เป็นต้น) องค์ประกอบหนึ่งของทรัพย์สินคือ เงินสะสม (reserve
fund) ซึ่งสามารถจัดสรรในหลายรูปแบบ ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องดำรงสภาพคล่อง (เงินสด
หรือตราสารการเงินระยะสั้น) ทั้งนี้ภายใต้ระเบียบและขั้นตอน ฝ่ายบริหารสามารถ
ขออนุมัติสภาท้องถิ่นและรายงานให้หน่วยงานกำกับ (นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด
กรม และกระทรวง) การบริหารทรัพย์สินของเทศบาล และ อบต. ก็เช่นเดียวกับหน่วยงาน
อื่น ๆ ของรัฐ ภายใต้กฎระเบียบและถูกตรวจสอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
2 สถาบันพระปกเกล้า