Page 58 - 21211_fulltext
P. 58

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                           สมการที่ 4 การผลิตจัดบริการสาธารณะ เทศบาล และ อบต. โดยคำนึงถึง
                     ความต้องการของประชาชน (นักวิจัยใช้ตัวแปรประชากร จำนวนสถานประกอบการ
                     นักท่องเที่ยว ฯลฯ เป็น proxy variables)

                           การผลิตบริการสาธารณะมีหลักการสำคัญคือ การตอบสนองความต้องการ

                     (responsive governance) โดยยึดถือหลักการธรรมาภิบาล กล่าวคือครอบคลุม
                     หลักประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล หลักการประหยัด หลักนิติธรรม การบริหารอย่าง
                     โปร่งใสตรวจสอบได้ ฯลฯ ประสิทธิภาพของนโยบาย (policy effectiveness)

                     หมายถึง การทำงานของแต่ละพื้นที่เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน
                     ประกอบด้วย ประชากรวัยเด็ก ประชากรในวัยทำงาน ประชากรผู้สูงวัย บ้านเรือน
                     ร้านค้า สถานประกอบการ ซึ่งมีความจำเป็นในการรับบริการของท้องถิ่น (เช่น บริการ

                     การจัดเก็บขยะ ไฟส่องสว่างยามค่ำคืน บริการประปา) รวมทั้งนักท่องเที่ยว

                           การจัดบริการสาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึง “อุปสงค์” หรือความต้องการของ
                     ประชาชน ซึ่งอาจจะใช้คำศัพท์ proxy of demand for local public goods สะท้อน

                     ในตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้ตัวย่อ คือ {pop, housing stock, enterprise, hidden
                     population, tourists, …}  ด้านอุปทานได้กล่าวไปข้างต้นหมายถึง การจัดบริการ
                     สาธารณะต้องอาศัยปัจจัยนำเข้า (ทุน แรงงาน เครื่องจักรเครื่องมือและเทคโนโลยี)

                           สมการที่ 5 ปัจจัยนำเข้าที่มีความสำคัญคือทรัพยากรบุคคล (ขอเรียกสั้นๆ ว่า

                     พนักงาน หรือ staff)

                      Staff = {ข้าราชการการเมือง, พนักงานบริหาร, พนักงานระดับกลางและปฏิบัติการ}

                           หมายเหตุ ตามกรอบอัตรากำลังและฐานข้อมูลของท้องถิ่น จำแนกออกเป็น
                                                        18
                     สองกลุ่ม คือ ข้าราชการ (sg1, sg2, …, sg5)  และลูกจ้าง (st1, st2)

                           สมการที่ 6 การประหยัดจากขนาด สะท้อนในการศึกษา “ต้นทุน” ซึ่งวัดได้ด้วย
                     ข้อมูลเชิงประจักษ์และทดสอบการเปลี่ยนแปลงตามขนาดองค์กร

                           ต้นทุนของเทศบาล และ อบต. สะท้อนใน 3 สมการ คือ



                        18    คำอธิบายและขยายความตัวแปร  sg1-sg5 และ st1, st2 ในบทที่ 4 ซึ่งอธิบายหลักฐานข้อมูล
                     เชิงประจักษ์จำนวนพนักงาน และการกระจายตามระดับ/ตำแหน่ง




                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   2
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63