Page 53 - 21211_fulltext
P. 53

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                 จำแนกออกเป็นสองส่วน คือ ต้นทุนคงที่ (FC=fixed cost) และต้นทุนแปรผัน
                 (VC=variable cost) ตัวอย่างของต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ค่าเช่าที่ดิน
                 ค่าเช่าเครื่องมือและอุปกรณ์ (ถึงแม้ว่าองค์กรเป็นเจ้าของเครื่องจักรและเครื่องมือ ไม่ได้
                 จ่ายเป็นค่าเช่า แต่ความจริงมีค่าเสื่อมหรือค่าสึกหรอซึ่งสะท้อนค่าเช่า)  จำนวนบุคลากร

                 (staff) มีผลต่อองค์กรกล่าวคือเป็นทั้ง “ต้นทุนคงที่” และ “ต้นทุนแปรผัน” – ขยาย
                 ความว่า เทศบาล และ อบต. ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีทรัพยากร

                 บุคคลขั้นต่ำ ตามกรอบอัตรากำลัง ตัวอย่างเช่น มีปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล
                 หัวหน้าส่วน ฯลฯ ไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่ต้องมีคนทำงาน ถือว่าต้นทุนคงที่ เมื่อหน่วยงาน
                 ท้องถิ่นขยายการบริการสาธารณะ--ตามความต้องการของประชาชน  สามารถเพิ่ม
                 บุคลากรตามภารกิจ เช่น เพิ่มจำนวนลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราว


                      การวัดการประหยัดจากขนาด

                      การประหยัดจากขนาด สามารถสะท้อนใน ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) โดย
                 สามารถแสดงความสัมพันธ์ด้วยรูปภาพที่ 1.2 แกนตั้งหมายถึง ต้นทุนต่อหน่วย
                 แกนนอน หมายถึง ขนาดกิจการ ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการ หรือจำนวน

                 ประชากร/บ้านเรือน และสถานประกอบการในกรณี 16










                    16    ผลงานวิจัยของ Allers and Geertsema (2016) ได้กล่าวถึงเส้นต้นทุนแบบ U-shaped ดังนี้
                 As a result of these conflicting effects, the per capita cost of public services often
                 assumed to be U-shared although firm empirical evidence is scare. Such a U-curve
                 reflects economies of size (downward sloping costs per capita) for unit below the size
                 where per capital costs are at a minimum.  Large organizations would then face
                 diseconomies of size.  With U-shaped costs, the effect of amalgamation produce
                 efficiency would be positive for small jurisdiction (size after amalgamation < optimal
                 size) and negative for larger jurisdictions.  Theoretically, economies and diseconomies
                 of size might even cancel out in an aggregate analysis, leading to an insignificant effect
                 on average. Existing empirical studies do not consider this possibility. Moreover, they
                 tend to ignore that it is increase in size, not amalgamation per se, that drives
                 economies of size.




              20 สถาบันพระปกเกล้า
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58