Page 55 - 21211_fulltext
P. 55
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
countries to mandate electric utilities to divest their generation
assets to prevent discrimination in newly developed wholesale
markets. Similarly many banks today argue that economies of
scale and scope make large integrated banks more efficient and
caution against their break-up to minimize the systematic risk
from individual bank failures.
2.2 แบบจำลองการประหยัดจากขนาดในบริบท
ของเทศบาล และ อบต.
ขั้นตอนนี้เป็นการสร้างแบบจำลอง (model) เพื่อวิเคราะห์การประหยัดจาก
ขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งมีหน่วยวิเคราะห์คือ เทศบาล และ
อบต. จำนวน 7,775 แห่ง พร้อมกับประยุกต์ใช้แนวคิดฟังก์ชันการผลิต (production
function) ในการวิเคราะห์
ฟังก์ชั่นการผลิต
เทศบาล และ อบต. มีหน้าที่ผลิตบริการสาธารณะ ดูแลทุกข์สุขของประชาชน
ตลอดจนแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติหรือเหตุอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึง ตามหลัก
กฎหมายจำแนกหน้าที่ของ เทศบาล และ อบต. ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก หน้าที่
ที่ต้องกระทำ ส่วนที่สอง หน้าที่ที่อาจจะหน่วยงานอาจดำเนินการหรือปฏิบัติการ
เพิ่มเติม จึงขอใช้สัญลักษณ์ S หมายถึง การบริการสาธารณะ (public service)
ซึ่งสามารถจำแนกย่อยเป็นด้าน ๆ ในเซท
S = {s1, s2,……..sk}
ฟังก์ชันการผลิต ในบริบทของเทศบาล และ อบต. แน่นอนว่า หน่วยงานท้องถิ่น
จำเป็นต้องมีสำนักงาน (office) เพื่อการทำงานและสื่อสารกับประชาชน เทศบาลหรือ
อบต. จำเป็นต้องมีสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องจักร และทรัพยากรบุคคล (ผู้บริหารและ
ผู้ปฏิบัติการ) ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความรู้-ทักษะ-ประสบการณ์สูง เช่น ความเข้าใจ
ระเบียบราชการท้องถิ่น เข้าใจกระบวนการงบประมาณภาครัฐ การบริหารการคลัง
22 สถาบันพระปกเกล้า