Page 48 - 21211_fulltext
P. 48

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร
                                  ราชการแผ่นดิน ที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงองค์กร
                                  ให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความต้องการของ
                                  ประชาชนและสถานประกอบการผลิตในยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                                  การลดขั้นตอน การตอบสนองต่อประชาชน โดยนำเทคโนโลยี
                                  มาประยุกต์ใช้ การสื่อสารกับประชาชนรูปแบบใหม่ผ่านระบบ

                                  อีเล็กทรอนิคส์และออนไลน์ การมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองและระบบขนส่ง
                                  มวลชนเพื่อก้าวสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ  อนึ่งในฐานะหน่วยงานของ
                                                                  13
                                  รัฐ เทศบาล และ อบต. จำเป็นต้องตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนา
                                  “ประเทศไทย 4.0” และนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำซึ่งสะท้อน

                                  ในคำกล่าว “การไม่ทอดทิ้งใครให้อยู่เบื้องหลัง” เทศบาล และ อบต.
                                  มีบทบาทสำคัญสูงในด้านการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่นที่ถึง
                                  ตัวประชาชน โดยใช้ทรัพยากรจากภาษีอากรและงบอุดหนุนจาก

                                  งบประมาณแผ่นดินรวมทั้งทรัพยากรบุคคล ตามสถิติในปี พ.ศ. 2560
                                  รายจ่ายของ อปท. ทุกรูปแบบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28 ของรายได้
                                  สุทธิรัฐบาล เฉพาะเทศบาล และ อบต. (จำนวนรวมกัน 7,775 แห่ง)

                                  มีรายได้รวมเท่ากับ 424,230  ล้านบาท (สถิติการคลังในปีงบประมาณ
                                  2559) จำนวนนี้ถูกนำไปจัดสรรเป็นรายจ่ายงบประมาณประจำปี
                                  เทศบาล และ อบต. มีบุคลากรในสังกัดรวมกันจำนวน 346,102 คน

                                  ในจำนวนนี้เป็นข้าราชการ 135,196 คน ส่วนที่เหลือเป็นลูกจ้างประจำ
                                  และลูกจ้างชั่วคราว

                                            สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งรับมอบอำนาจ

                                  จากรัฐบาลให้ศึกษาแนวทางการปฏิรูปประเทศ การปฏิรูปราชการแผ่นดิน
                                  และการปกครองท้องถิ่น เสนอแนะให้ “ควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก” ซึ่ง
                                  อาจจะถือได้ว่าเป็นวาระนโยบายแห่งชาติ (national policy agenda)
                                  โดยคาดว่าจะเกิดผลดีต่อสังคมโดยรวม กล่าวคือ การประหยัดเงิน



                                     13   การขับเคลื่อนสู่เมืองอัจฉริยะ ท้องถิ่นอาจจะต้องทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับ
                                  ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาครัฐ ซึ่งจะเป็นมิติใหม่





                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   1
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53