Page 44 - 21211_fulltext
P. 44
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
สี่ กระบวนการควบรวมนั้นมีผลกระทบในระยะยาว และ ระยะสั้น
และพิจารณาได้ในมิติส่วนรวม หรือส่วนบุคคล (พนักงานของ เทศบาล/อบต.) การควบ
รวมจึงมีผลกระทบแบบได้อย่างเสียอย่าง (trade-offs) จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง
มาตรการชดเชยให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบทางลบหรือผลกระทบระยะสั้น และต้นทุน
ของการปรับตัวขององค์กรเมื่อเข้าสู่กระบวนการควบรวม (adjustment cost) และ
มาตรการจูงใจผ่านเงินอุดหนุนในช่วงการเปลี่ยนผ่าน
1.3 วิธีการวิจัย
วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research) ถูกนำมาประยุกต์ใช้ใน
โครงการวิจัยนี้ กล่าวคือ
หนึ่ง การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (quantitative method) เพื่อเข้าใจฐานะ
การคลังและงบประมาณ ตลอดจนต้นทุนการบริหารจัดการของ เทศบาล และ อบต.
จำนวน 7,775 หน่วยงาน กระจายในทุกจังหวัด คณะวิจัยได้รวมรวมข้อมูลหลายมิติ
ได้แก่ ด้านรายได้และงบประมาณของเทศบาล และ อบต. บุคลากรและค่าใช้จ่าย
จำแนกเป็นรายจ่ายบุคลากร รายจ่ายการลงทุน และรายจ่ายการให้บริการสาธารณะ
และข้อมูลที่สะท้อนผลการทำงาน (LPA: local performance assessment)
ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ถือเป็นตัวแปรที่สะท้อนคุณภาพ
บริการสาธาณะ นำมาวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ เพื่อทดสอบข้อสันนิษฐาน
การประหยัดจากขนาด (hypothesis of economies-of-scale หมายถึงต้นทุนต่อ
หน่วยที่ลดลงเมื่อขนาดบริการเพิ่มขึ้น) ผลการศึกษานำมาประมาณการศักยภาพของ
การลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
สอง การศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative method) โดยจัดทำกรณีศึกษา
การลงพื้นที่ภาคสนาม เพื่อประมวลเก็บข้อมูลสนเทศความเป็นไปได้ของการควบรวม
2-3 หน่วยงานเข้าด้วยกัน การรับฟังความเห็นของผู้บริหารท้องถิ่น การรับฟังข้อคิดเห็น
ของประชาชน การประมวลข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ (แผนที่) เพื่อเข้าใจสถานการณ์ของ
แต่ละแห่ง (ระยะทางจากบ้านถึงสำนักงาน) การบริการสาธารณะในปัจจุบันและ
ความคาดหวังในอนาคต ทัศนคติของฝ่ายการเมืองในหน่วยงานที่ถูกควบรวมและ
หน่วยงานที่รับการควบรวม
สถาบันพระปกเกล้า 11