Page 41 - 21211_fulltext
P. 41

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                 ทรัพยากรของเทศบาล และ อบต. การทดสอบข้อสันนิษฐานบางประการ เช่น ขนาด
                 ที่เล็กเกินไป—ส่งผลต่อการไม่ประหยัดจากขนาด (diseconomies-of-scale)
                 การประเมินผลได้ (จกต้นทุนที่ลดลง) ภายหลังการควบรวมท้องถิ่น เป็นต้น ประการ
                 ที่สอง การวิเคราะห์เชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดความยอมรับและความเข้าใจ

                 มากกว่าการสั่งการ เนื่องจาก เทศบาล และ อบต. ที่อยู่ในข่ายควบรวม มีจำนวนหลาย
                 ร้อยหรือหลักพันหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบ (ทางบวกหรือทางลบ)

                 นับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีนัยสำคัญ จึงควรจะพิจารณา “กระบวนการ”
                 หมายถึง การระบุนโยบายพร้อมเหตุผลประกอบ (policy identification) การกำหนด
                 วาระของนโยบาย (policy agenda) แนวทางขับเคลื่อนนโยบาย (policy
                 implementation) และการประเมินนโยบาย (policy evaluation)  ดังกล่าวตอนต้น

                 ว่า การควบรวมท้องถิ่น--ถึงแม้ว่าเป็นผลดีต่อภาพรวม ที่คำนึงถึงประสิทธิภาพ
                 ประสิทธิผล แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นมีค่าโสหุ้ยและต้นทุนการปรับตัว  (transaction
                 cost, adjustment cost)  การวิจัยจึงควรจะเสนอทางเลือกสาธารณะ (options for

                 local amalgamation) หมายถึง มีเมนูนโยบาย ตัวอย่างเมนูนโยบาย เช่น option
                 1: ข้อเสนอให้ควบรวมระหว่างเทศบาล และ อบต. ในเขตตำบลเดียวกัน option
                 2: เทศบาล หรือ อบต. ขนาดเล็ก ที่แสดงเจตจำนงจะควบรวมกับหน่วยงานขนาดใหญ่

                 ที่เขตพื้นที่ติดต่อกัน (เทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร หรืออีกนัยหนึ่ง “การผนวก
                 เข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรท้องถิ่นขนาดใหญ่” (local annexation)  option
                 3: การเปิดโอกาสให้ เทศบาล หรือ อบต. 3-4 แห่งที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ควบรวม

                 เข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องติดเงื่อนไรว่า ต้องตั้งในเขตตำบลเดียวกน จำเป็นต้อง
                 ตระหนักว่ากระบวนการควบรวมท้องถิ่น เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (agents) หลายระดับ
                 ซึ่งเปรียบเหมือน “ตัวละคร” ที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากประชาชน เทศบาล อบต. ยังมี

                 หน่วยงานราชการที่มีบทบาทกำกับทิ่น (นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐมนตรี)
                 จำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยเชิงสถาบันที่มีส่วนตัดสินใจ/อนุมัติการควบรวม ประการที่สาม
                 เพื่อได้ผลการศึกษาและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเทศบาล และ อบต. นอกเหนือจาก

                 การจัดสรรทรัพยากร การจ้างบุคลากร การประเมินการทำงานท้องถิ่น (local
                 performance assessment: LPA) การทดสอบข้อสันนิษฐาน “การประหยัดจากขนาด”

                      การทบทวนประสบการณ์ควบรวมในอดีต (หมายเหตุ ในปี พ.ศ. 2553

                 การควบรวมระหว่างเทศบาลตำบลวังน้ำเย็น และ อบต. วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว



                 สถาบันพระปกเกล้า
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46