Page 37 - 21211_fulltext
P. 37
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
รัฐประหาร รัฐบาล คสช. มิได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
การจัดสรรรายได้ของท้องถิ่นถึงแม้ว่าเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
รัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้ง
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาล
ให้เสนอแนะแนวทางการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งการปฏิรูป อปท. โดยตั้งข้อสังเกตว่า
เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหลายพันแห่งที่มีขนาดเล็กเกินไป
4
(วัดจากประชากร พื้นที่ หรือฐานะการเงิน) เห็นว่าเป็นจุดอ่อน เนื่องจากรายได้หลังหัก
ค่าจ้างบุคลากรและรายจ่ายประจำ ไม่พอเพียงสำหรับการจัดทำบริการสาธารณะอย่าง
มีคุณภาพ ซึ่งข้อสังเกตนี้ความจริงมีบันทึกในคณะกรรมการชุดอื่น ๆ ก่อนหน้าโดย
5
สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ข้อเสนอการปฏิรูปของ สปท. ครอบคลุมหลายมิติ ส่วนที่
เกี่ยวกับ เทศบาล และ อบต. สรุปเป็น 2 ประเด็น ข้อแรก ควรยกฐานะของ อบต.
ให้เป็นเทศบาลทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่า ก) โดยหลักปฏิบัติสากล ท้องถิ่นระดับล่าง
เรียกว่าเทศบาล (municipality) ข) การปรับปรุงจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง
6
เทศบาล และ อบต. เนื่องจากความไม่คงเส้นคงว่า เช่น ระเบียบของ อบต. มิอนุญาต
ให้กู้ยืมเพื่อการลงทุน แต่ระเบียบของเทศบาลสามารถกู้ยืมเพื่อการลงทุนได้ นอกจากนี้
วิธีการจัดสรรเงินอุดหนุน (grant allocation) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (เงินอุดหนุน
ที่จัดสรรให้เทศบาลสูงกว่า อบต. หมายถึง “เงินอุดหนุนต่อหัว” ซึ่งได้รับการวิจารณ์ว่า
เป็นการจัดสรรที่เอื้อคนเมืองมากกว่าคนชนบท) ข้อเสนอประการที่สอง ระบุ
ให้ควบรวมเทศบาลหรือ อบต. ที่มีประชากรน้อยกว่า 7 พันคน หรือรายได้ท้องถิ่น
(โดยไม่นับรวมเงินอุดหนุนจากรัฐบาล) น้อยเกินไปควรเข้าสู่กระบวนการควบรวม
จากการทบทวนวรรณกรรมสรุปความได้ว่า มีตัวอย่างการควบรวมหน่วยงาน
ท้องถิ่น (local amalgamation หรือ local merge) ขนาดเล็กในหลายประเทศ โดยมี
เหตุผลสนับสนุน คือ หนึ่ง การควบรวมท้องถิ่นให้มีขนาดที่เหมาะสม เป็นผลดีต่อ
4 ดูข้อมูลเชิงประจักษ์ในตารางที่ 1 ประกอบ ภาคผนวกท้ายส่วนที่ หนึ่ง
5 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) (2559). เรื่อง “การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรภาครัฐ
การจัดความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น : การทบทวนการจัดตั้ง
หน่วยงานส่วนกลางที่ไปปฏิบัติงานอยู่ในภูมิภาค”
6 หมายถึง รัฐบาลท้องถิ่นในต่างประเทศเรียกว่า เทศบาล (municipality) โดยมิได้จำแนกว่า
เทศบาลนั้นตั้งในเขตเมืองหรือชนบท
สถาบันพระปกเกล้า