Page 42 - 21211_fulltext
P. 42
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองวังน้ำเย็น ในปี พ.ศ. 2560 การควบรวม อบต.วังเหนือ
เข้ากับเทศบาลตำบลวังเหนือ จังหวัดลำปาง เป็นต้น)
1.2 ทฤษฎี ข้อสันนิฐาน และขอบเขตการวิจัย
1.2.1 ทฤษฎี
หลักวิชาเศรษฐศาสตร์และการจัดการที่นำมาประยุกต์ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หลักการประหยัดต่อขนาดและการทำงานหลายด้าน
(economies-of-scale and economies-of-scope) ซึ่งมิใช่แค่หลักการหรือทฤษฎี
เท่านั้น แต่ได้นำมาประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติกับการจัดการองค์กรภาครัฐและเอกชน
มีผลการทดสอบด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ในต่างประเทศอย่างกว้างขวาง
(1) การประหยัดจากขนาด (economies of scale) เป็นหลักการ
สำคัญเกี่ยวข้องกับฟังก์ชันการผลิต (production function) และเส้นต้นทุน (cost
curve) ต้นทุนประกอบด้วย ก) ต้นทุนคงที่ ข) ต้นทุนแปรผัน อีกส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ
คุณลักษณะ increasing returns ในระบบการผลิต กล่าวคือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเร็วกว่า
ปัจจัยนำเข้า นอกจากนี้เกี่ยวข้องกับ economies of scope หมายถึง หน่วยการให้
บริการ y1, y2 อยู่แล้ว สามารถเพิ่มบริการ y3 โดยใช้บุคลากร สถานที่เดิม และ
อุปกรณ์ที่มีอยู่ ผลรวมคือ ต้นทุนต่อหน่วยมีแนวโน้มลดลงเมื่อขนาดการให้บริการ
เพิ่มขึ้น สะท้อนในเส้นต้นทุนต่อหน่วย U-shaped ซึ่งสะท้อนในรูปภาพ แกนตั้ง
หมายถึงต้นทุนต่อหน่วย แกนนอนหมายถึงขนาด (scale of operation โดยมี
ข้อสันนิษฐานแบบแผนต้นทุน กล่าวคือ ช่วงแรก ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ช่วงที่สอง
ต้นทุนต่อหน่วยถึงจุดต่ำสุด ช่วงที่สาม ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
(2) กระบวนนโยบายสาธารณะ (policy process) หมายความถึง
การปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐ ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ด้านหนึ่งคือ
การใช้ทรัพยากรภาครัฐอันสืบเนื่องจากการควบรวมองค์กรเข้าด้วยกัน การจัดบริการ
สาธารณะ (เมื่อควบรวมหน่วยงานเข้าด้วยกัน) กระทบต่อความรู้สึกของพลเมือง
ในท้องถิ่น และผลต่อการเมืองท้องถิ่น (เนื่องจากที่นั่งในสภาท้องถิ่นลดลงภายหลัง
มาตรการควบรวม) อนึ่ง เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็กมีจำนวนมาก (2,696 แห่ง
สถาบันพระปกเกล้า