Page 43 - 21211_fulltext
P. 43
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
หากใช้หลักเกณฑ์ประชากรน้อยกว่า 5,000 คน) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ได้มีบทบาทผลักดัน policy identification และ policy agenda แต่ยังไม่ถึงขั้น
policy implementation
(3) การควบรวมท้องถิ่น (local amalgamation) เป็นการเปลี่ยน
ผ่าน (transformation) ที่มีนัยสำคัญสูง และมีต้นทุนของการปรับตัว (adjustment
cost) หมายถึง ในกระบวนการควบรวมท้องถิ่นเข้าด้วยกัน มีภารกิจที่จะต้อง
ดำเนินการซึ่งมีต้นทุนและค่าใช้จ่าย อาทิเช่น การโอนทะเบียนทรัพย์สิน การปรับปรุง
บัญชี การปรับปรุงแผนที่ภาษี การปรับปรุงสำนักงานหรือศูนย์บริการ ฯลฯ หาก
รัฐบาลหวังผลให้เกิดความร่วมมือโดย “สมัครใจ” อาจจะทำได้โดยจัดสรรเงินอุดหนุน
ที่กำหนดเงื่อนไขควบรวม ซึ่งเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา
1.2.2 ข้อสันนิษฐานการวิจัย
หนึ่ง การควบรวมหน่วยงานท้องถิ่นขนาดเล็ก (วัดจากจำนวน
ประชากรหรือพื้นที่) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีส่วนยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน
เพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ส่งเสริมการประหยัดจากขนาด ที่วัดได้เชิงประจักษ์จาก
“ต้นทุนส่วนเพิ่ม” มีแนวโน้มลดน้อยถอยลง (decreasing marginal cost) และอาจจะ
ทำให้ได้คะแนน LPA (local performance assessment) สูงขึ้น
สอง การที่ขนาดเทศบาลเล็กมาก มีรายจ่ายด้านบุคลากรสูง (per
capita staff expenditure) ดังนั้น การควบรวมท้องถิ่นให้กลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่
ตามความเหมาะสม สามารถช่วยประหยัดรายจ่ายด้านบุคลากร หรือนำเงินส่วนนี้
ประหยัดนี้ไปขยายบริการสาธารณะ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน/ผู้รับบริการ
สาม มาตรการควบรวม มีศักยภาพที่จะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่าง
น้อยระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เทศบาล และ อบต. ในเขตตำบลเดียวกัน บริการ
สาธารณะที่จัดหาไม่เท่าเทียมกัน เช่น โรงเรียน บริการจัดเก็บขยะ ดำเนินการ
ในเทศบาล แต่ไม่มีบริการดังกล่าวใน อบต. ที่พื้นที่ติดต่อกัน การควบรวมช่วยลด
ความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่ง 12
12 จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารเทศบาลหลายแห่ง ระบุว่า ประชาชนใน อบต. รอบข้างได้แสดง
ความประสงค์ที่จะควบรวมเข้ากับเทศบาล เนื่องจากเห็นว่า บริการสาธารณะของ เทศบาล มีคุณภาพ
หรือครบถ้วนกว่า อบต.
10 สถาบันพระปกเกล้า