Page 40 - 21211_fulltext
P. 40

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                           หนึ่ง การศึกษาภาพรวมทางการคลังท้องถิ่น หมายถึง รายได้ท้องถิ่นซึ่งจำแนก
                     ออกเป็น 3 หมวด กล่าวคือ ก) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง ข) รายได้จากภาษีแบ่งหรือ
                     หน่วยงานของรัฐจัดเก็บให้ ก) รายได้จากเงินอุดหนุน นำมาศึกษาเปรียบเทียบ ทดสอบ
                     ว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด การคำนวณดัชนีความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น


                           สอง การทดสอบข้อสันนิษฐานการประหยัดจากขนาด โดยใช้แบบจำลอง
                     เศรษฐมิติ โดยกำหนดให้ ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) เป็นต้วแปรตาม การวิเคราะห์
                     เส้นต้นทุน (cost curve) ว่ามีคุณลักษณะ decreasing cost ในช่วงแรก และมี

                     ความเป็นไปได้ที่จะมีลักษณะ increasing cost เมื่อขนาดท้องถิ่นเกินกว่า “ระดับ
                     ที่เหมาะสม (optimal size) คณะวิจัยตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับขนาดที่เหมาะสม อาจจะ
                     มิได้หมายความว่า “เป็นจุดเดียวหรือค่าเดียว”  ขนาดอันเหมาะสมของเทศบาล

                     และ อบต. อาจจะสอดคล้องกับมโนทัศน์ ดุลยภาพหลายจุด (multiple equilibria)
                     การค้นคว้าวิจัยที่อิงหลักฐานเขิงประจักษ์ ช่วยให้ความมั่นใจต่อหน่วยงานที่กำหนด
                     นโยบาย เช่น คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น การเสนอทาง

                     เลือกสาธารณะ (public choices) และเสนอแนะมาตรการแรงจูงใจให้ท้องถิ่นควบรวม
                     โดยสมัครใจ ทั้งนี้ควรตระหนักว่า การควบรวมองค์กรท้องถิ่นเข้าด้วยกันเป็น
                     การเปลี่ยนแปลงใหญ่ (สำหรับคนท้องถิ่น) มีค่าใช้จ่ายหรือค่าโสหุ้ย (high transaction

                     cost) จากการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบในทางลบต่อคณะบุคคล (นักการเมืองท้องถิ่น
                     หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น เนื่องจากจาก “ตำแหน่ง” ในสภาท้องถิ่นลดลง ตำแหน่งปลัด
                     หรือหัวหน้ากองลดลง) อนึ่ง เราควรจะเข้าใจะอคติที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง (bias for

                     status quo)  มาตรการควบรวมท้องถิ่นจำเป็นควรจะมีเหตุผลที่อธิบายต่อสังคม
                     ได้ชัดเจน  ระบุข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ระบุว่าผลดีที่เกิดจากต้นทุนต่อ
                             11
                     หน่วยที่ลดลง คุ้มค่า บริการสาธารณะหลังการควบรวมมีคุณภาพสูงขึ้น การบริการ

                     ที่ครบถ้วน การประหยัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เป็นต้น

                           โครงการวิจัยนี้กำหนดเป้าประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อพัฒนาความรู้
                     สหวิทยาการที่เกี่ยวกับการบริหารงานเทศบาลและ อบต. คือ มิติเศรษฐศาสตร์
                     การจัดการ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าด้วยการใช้


                        11   ต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ย่อมจะมีผลได้ผลเสีย (trade-off) เป็นธรรมดา
                     อนึ่ง จำเป็นต้องเข้าใจว่าการคัดค้านอาจจะเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว (ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
                     และควรจะตระหนักถึงผลระยะสั้น-ปานกลาง-และระยะยาว


                                                                          สถาบันพระปกเกล้า
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45