Page 36 - 21211_fulltext
P. 36

1.1 หลักการและเหตุผลการวิจัย



                                       การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน
                                  ประเทศไทย ดำเนินการอย่างจริงจังภายหลังกฎหมายรัฐธรรมนูญ
                                  พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดกรอบกติกาของประเทศ ครอบคลุมมิติทาง

                                  การเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ การบริหารราชการแผ่นดิน
                                  รวมทั้งระบุบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                  ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐ ในเวลาต่อมารัฐบาลและ

                                  สภานิติบัญญัติได้ร่วมกันตรากฎหมายอนุบัญญัติคือ พ.ร.บ. กำหนด
                                  แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                  พ.ศ. 2542 พร้อมกับจัดทำแผนการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่น ส่งผลให้

                                  เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่าง
                                  ยิ่งส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีบทบาทการจัดบริการ
                                                                               2
                                  สาธารณะท้องถิ่น และดูแลทุกข์สุขของประชาชนเพิ่มขึ้น   โดยรับโอน
                                  ภารกิจจากราชการส่วนกลาง มาตรการกระจายอำนาจทางการคลัง
                                  โดยการจัดสรรเงินอุดหนุนและภาษีแบ่งให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ควบคู่กับ
                                  การถ่ายโอนบุคลากรบางส่วนจากราชการส่วนกลาง นับเป็นความ

                                  เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่อองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสำคัญ
                                  ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  จากบริการสาธารณะรูปแบบ
                                                                  3
                                  ใหม่ ๆ ความริเริ่มและนวัตกรรมในหน่วยงานท้องถิ่น ทั้งองค์การบริหาร
                                  ส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

                                  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแผนพัฒนาท้องถิ่น อย่างไร
                                  ก็ตามมีข้อสังเกตว่าภายหลังปี พ.ศ. 2557 ถึงปัจจุบัน การกระจาย

                                  อำนาจให้ท้องถิ่นชะลอตัวลงไปอย่างสังเกตได้ชัดเจนภายหลัง


                                     2   วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2557). “ประเมินผลการกระจายอำนาจ ของ
                                  ไทยระยะ 15 ปี: สังคมไทยได้อะไร ก้าวหน้าไปถึงไหน และจะเดินต่อไปกันอย่างไร?”
                                  วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 หน้า 82-122
                                     3   ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคณะ. (2557). การคลังท้องถิ่น การขยายฐานรายได้
                                  และความเหลื่อมล้ำ รายงานการวิจัยสนับสนุนโดยมูลนิธิเอเซีย  กรุงเทพ โรงพิมพ์
                                  พีเอลิฟวิง




                                                                          สถาบันพระปกเกล้า
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41