Page 39 - 21211_fulltext
P. 39

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                 ความเห็นของประชาชน ผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ซึ่งเข้าใจบริบทของพื้นที่ดี
                 กว่า “คนนอก”)

                      คณะวิจัยมีความเห็นว่า ข้อเสนอการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็กถึงแม้ว่ามีเหตุผล
                 สนับสนุนเชิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ แต่หากระบุเกณฑ์แบบตายตัว (ประชากรต้องเกิน

                                                                      8
                 กว่า 7 พันคน) อาจจะไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน  การปฏิรูปองค์กร
                 ปกครองท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างจากการปฏิรูปราชการส่วนกลาง เพราะ เทศบาล
                 และ อบต. ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ความรู้สึก “มีส่วนร่วมหรือความเป็นเจ้าของ”

                 มาตรการควบรวมจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงผลด้านจิตวิทยาของพลเมือง
                                                                                     9
                 ทั้งนี้อาจจะมีการแบ่งขนาดขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามลักษณะ
                 ภูมิศาสตร์อื่น การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (Optimal Size) ของเทศบาล / อบต. เป็น

                 ประเด็นที่ละเอียดอ่อน จำเป็นต้องพิจารณาสภาพทางภูมิศาสตร์และบริบทของสังคม
                 เมือง/ชนบท 10

                      ในโครงการวิจัยนี้ คณะวิจัยได้ใช้ความพยายามในการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์

                 จากส่วนราชการหลายแหล่ง กล่าวคือ (ก) ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาล และ อบต.
                 (ข) ข้อมูลด้านการคลังและงบประมาณ (ค) ข้อมูลบุคลากรท้องถิ่น (ง) ผลการประเมินผล
                 การทำงาน (local performance assessment: LPA) ซึ่งสะท้อนคุณภาพของการจัด
                 บริการสาธารณะ เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) หมายถึง สะท้อน

                 “ประชากร” ไม่ใช่ตัวเลขที่มาจาก “การสุ่มตัวอย่าง”  ครอบคลุมเทศบาล และ อบต.
                 ทั่วประเทศ จำนวน 7,775 แห่งในปี พ.ศ. 2559  คณะวิจัยใช้ข้อมูลขนาดใหญ่

                 มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ทดสอบ
                 ข้อสันนิษฐานการประหยัดจากขนาด การเปรียบเทียบทางสถิติ (ระหว่างภูมิภาค หรือ
                 เปรียบเทียบขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่) โดยจำแนกเป็นหัวข้อต่อไปนี้


                    8   หากยึดเกณฑ์แบบตายตัว หมายถึง เทศบาล และ อบต. รวมกัน 4,713 แห่ง จะต้องเข้า
                 กระบวนการควบรวม และอาจจะขัดแย้งกับหลักการรัฐธรรมนูญที่ระบุให้คำนึงถึง เจตนารมณ์ของ
                 ประชาชน

                    9   ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). “การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครอง
                 ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด”.
                    10   สรณะ เทพเนาว์. (9–15 กันยายน 2559). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปท้องถิ่นโดยการควบรวม.
                 สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์. น. 66 (กลาง).




                 สถาบันพระปกเกล้า
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44