Page 38 - 21211_fulltext
P. 38

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร สอดคล้องกับหลักประหยัดจากขนาด (economies
                     of scale) ตำราเศรษฐศาสตร์อธิบายว่า ขนาดองค์กรที่เล็กเกินไปมักมีปัญหา
                     “การไม่ประหยัดจากขนาด” (diseconomies-of-scale) เนื่องจากต้นทุนคงที่
                     (fixed cost, sunk cost) และควรคำนึงถึง “ขนาดที่เหมาะสม” ซึ่งเกี่ยวข้องกับ

                     คุณลักษณะของ “ผลตอบแทนการผลิตที่เพิ่มขึ้น” (increasing return to scale)
                     สอง การจัดบริการสาธารณะใน อปท. ขนาดเล็กมากมักไม่ครบถ้วน เช่น ไม่จัดเก็บขยะ

                     ไม่มีบริการดับเพลิง ไม่เปิดโรงเรียนหรือศูนย์สุขภาพ เพราะว่าไม่คุ้มค่าและงบประมาณ
                     จำกัด ฯลฯ คณะวิจัยเชื่อว่า สปท. คำนึงถึงขนาดอันเหมาะสม (optimal scale of
                     local governance) ของท้องถิ่น ที่กล่าวเช่นนี้มิได้ต้องการสรุปว่า ยิ่งใหญ่ยิ่งดี
                     (the bigger is the better) เนื่องจาก องค์กรท้องถิ่นขนาดใหญ่เกินไป เกินกว่า

                                                  7
                     “จุดที่เหมาะสม” (optimal scale)   บริการสาธารณะอาจจะไม่ทั่วถึง ผลการวิจัยจาก
                     กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น รายงานว่า เมื่อควบรวมเทศบาลหลายแห่งเข้าด้วยกันจน
                     กลายเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ จะส่งผลทางลบต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน (วัดจาก

                     สัดส่วนของประชากรที่มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง) ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้มีคำอธิบาย
                     ในตำราเศรษฐศาสตร์ คือ พฤติกรรม free-riding เพราะผู้ลงคะแนนเสียงมักจะคิดว่า
                     การออกไปลงคะแนน—ไม่มีผลต่อการเลือกตั้ง ในทางตรงกันข้ามในพื้นที่ขนาดเล็ก—

                     ประชากรจะรู้สึกว่า การไปลงคะแนนเสียง มีนัยสำคัญต่อผลการเลือกตั้ง หรือ
                     “มีน้ำหนัก” ต่อการตัดสินใจทางสังคม

                           สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของ

                     ข้อเสนอการควบรวมองค์กรปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย พิจารณาแล้วเห็นว่า
                     เป็นหัวข้อการวิจัยที่มีนัยสำคัญ คำถามว่า ขนาดขององค์กรปกครองท้องถิ่น
                     ที่เหมาะสม-มีประสิทธิภาพในบริบทของประเทศไทย หมายความอย่างไร

                     หลัก “การประหยัดจากขนาด” (economies of scale) ก็เช่นเดียวกันควรจะวิจัยว่า
                     ขนาดอันเหมาะสม (optimal level) อาจจะไม่ตายตัว (เป็นค่าเดียวทั่วประเทศ เช่น
                     ระบุว่าต้องมีประชากรเกินกว่า 7 พันคน ขนาดอันเหมาะสม—อาจจะแปรผันตาม
                     สภาพภูมิศาสตร์และบริบทของชุมชน เช่น 3-5 พันคน อนึ่ง งานวิจัยควรจะรับฟัง


                        7   ตำราเศรษฐศาสตร์อธิบายว่า เมื่อขนาดต่ำกว่า optimal scale เป็นช่วงประหยัดจากขนาด
                     ต้นทุนต่อหน่วยลดลง แต่เมื่อเกินกว่าขนาดเหมาะสม เป็นช่วงของการไม่ประหยัดจากขนาด และต้นทุน
                     ต่อหน่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น




                                                                          สถาบันพระปกเกล้า
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43