Page 45 - 21211_fulltext
P. 45

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก


                 1.4 ขั้นตอนและกิจกรรม




                      1)  การรวบรวมข้อมูล (data collection) เป็นขั้นตอนที่สำคัญและ
                 มีรายละเอียดต้องคำนึงถึง เนื่องจาก เทศบาล และ อบต. มีจำนวนมาก (7,775 แห่ง
                 ณ ปี พ.ศ. 2559) มีข้อมูลหลายมิติที่ต้องพิจารณา ด้านการเงิน งบประมาณ ประเภท
                 รายจ่าย จำนวนบุคลากร จำแนกรายจ่ายด้านบุคลากร รายจ่ายการให้บริการสาธารณะ


                      2)  การพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐมิติ เพื่อทดสอบข้อสันนิษฐานการประหยัด
                 จากขนาด

                      3)  การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบาย โดยศึกษาข้อเสนอการยกฐานะของ อบต.
                 เป็นเทศบาล และการควบรวมเทศบาลขนาดเล็ก โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

                 (สปท.)

                      4)  การศึกษาภาคสนาม โดยกรณีศึกษาประสบการณ์ควบรวมในอดีตจนถึง
                 ปัจจุบัน ได้แก่ เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น และ อบต.วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (2553)
                 เทศบาลตำบลวังเหนือ และ อบต.วังเหนือ จังหวัดลำปาง (2560) และ เทศบาลเมือง

                 ขามใหญ่ เทศบาลตำบลปทุม และ อบต.ไร่น้อย จังหวัดอุบลราชธานี (2561)

                      5)  การส่งแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารท้องถิ่นขนาดเล็ก จำนวน
                 500 แห่ง และนำผลตอบรับมาวิเคราะห์

                      6)  การจัดประชุมกลุ่มย่อย โดยคณะผู้วิจัยร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาล
                 แห่งประเทศไทย เชิญผู้บริหารท้องถิ่นขนาดเล็กมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ

                 การควบรวม ปัญหาและอุปสรรค

                      7)  การจัดประชุมกลุ่มย่อย โดยทีมวิจัยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกระจาย
                 อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพิจารณาการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
                 เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็ก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทาง

                 การควบรวม











              12 สถาบันพระปกเกล้า
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50