Page 49 - 21211_fulltext
P. 49
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
อุดหนุนของรัฐ การยกฐานะ อบต. ให้เป็นเทศบาล และควบรวมให้มีขนาดใหญ่ช่วยให้
ใช้ประโยชน์จาก “การประหยัดจากขนาด” อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับมาตรการ
ควบรวมอาจเกิดผลกระทบทางลบในส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น การเข้าสู่ตำแหน่งสมาชิก
สภาท้องถิ่นลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อนักการเมืองท้องถิ่นไม่มากก็น้อย ทำนองเดียวกัน
ตำแหน่งบริหาร (ปลัดเทศบาล หัวหน้ากอง) จำนวนลดลง ส่งผลให้ผู้ได้รับผลกระทบ
จำนวนไม่น้อย นอกจากนี้มีข้อกังวลในส่วนของพลเมืองว่า หากควบรวมพื้นที่
ที่ขนาดใหญ่เกินไป อาจจะเป็นต้นทุนสำหรับประชาชนในการเดินทางมาติดต่อกับ
สำนักงานฯ และความไม่สะดวกถือว่าเป็นต้นทุนค่าโสหุ้ย
ในการวิเคราะห์นโยบายควบรวม อบต. และ เทศบาล จึงจำเป็นต้องพิจารณา
อย่างรอบคอบ หลายมิติ—นอกเหนือจากมิติเศรษฐกิจ กล่าวคือ ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล การประหยัดจากขนาด และความสามาระจัดหาบริการสาธารณะครบถ้วน
ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ในมิติทางสังคมและการเมือง การยอมรับของประชาชน
ค่านิยมและวัฒนธรรม เป็นต้น
ในบทนี้เสนอกรอบการวิจัยและแนวทางการวิจัย โดยจำแนกออกเป็น 4 ส่วน
ส่วนแรก การวิเคราะห์ตามสภาพเป็นจริง (positive analysis) เพื่อเข้าใจสถานการณ์
ของท้องถิ่น (situational analysis of local governance) หน่วยวิเคราะห์ในที่นี้
หมายถึง เทศบาล และ อบต. ซึ่งกระจายอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ การทบทวน
ทฤษฎีการประหยัดจากขนาด (economies-of-scale) และการประหยัดเมื่อหน่วยงาน
ท้องถิ่นปฏิบัติงานหลายด้าน (economies-of-scope) ศึกษาต้นทุนซึ่งประกอบด้วย
ต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน วิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) เปรียบเทียบกับ
ขนาดของหน่วยงาน ลำดับต่อไปคือ การศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ เริ่มด้วยการทบทวน
ฐานข้อมูล อธิบายตัวแปรและกำหนดนิยามเพื่อความชัดเจน ต่อจากนั้น ศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระที่จะขยายความต่อ โดยสันนิษฐานว่า
ต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) มีความสัมพันธ์กับขนาดองค์กร การทดสอบข้อสันนิษฐาน
โดยใช้แบบจำลอง robust regression ส่วนที่สอง การน้อมนำแนวคิดเศรษฐศาสตร์
สถาบันมาประยุกต์ใช้ หมายถึง นักวิจัยควรศึกษาบริบทของท้องถิ่น เข้าใจกฎระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง ตัวละครซึ่งรวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่นพนักงานและบริบท หน่วยงานท้องถิ่น
ที่อยู่ในความสนใจ (focal point) คือ เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็ก ระเบียบที่มีอยู่
1 สถาบันพระปกเกล้า