Page 65 - 21211_fulltext
P. 65
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
154 แห่ง การควบรวมส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก 2 หน่วยงานรวมเข้ากัน อย่างไรก็ตาม
บางครั้งมีอีกหลายกรณีที่เกิดการควบรวม 2-6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ภายหลังการควบรวม
แล้วค่าพิสัยของจำนวนประชากรของเทศบาล ระหว่าง 20,000 - 50,000 คน (86 แห่ง
จากจำนวน 122 เทศบาล)
ประเทศเยอรมัน การศึกษาโดย Blume and Blume (2007) เสนอ
การวิเคราะห์การควบรวมเทศบาลในเยอรมันนี้ ซึ่งผ่านการปฏิรูปในช่วงทศวรรษ
1960 และ 1970 ทำให้จำนวนเทศบาล (Gemeninden) ลดลงจาก 24,278
เหลือเพียง 8,514 แห่ง หรือประมาณหนึ่งในสาม นอกจากนี้การควบรวม
เขตการบริหารท้องถิ่น (Kreise, administrative districts) จาก 560 เหลือเพียง
323 แห่ง มูลเหตุจูงใจของควบรวมท้องถิ่นในประเทศเยอรมันมาจาก 2 สาเหตุ
หนึ่ง กระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันได้
และพิจารณาว่ามาตรการควบรวมเป็นช่องทางหนึ่งของการปรับองค์กรให้เข้มแข็ง
มีประสิทธิภาพและการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ สอง วิกฤตการณ์การเงินของ
เทศบาลของเทศบาล ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นตระหนักถึง “การประหยัดจากขนาด”
เพื่อให้ต้นทุนค่าจัดบริการสาธารณะลดลงหรือมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ประเทศคานาดา เมืองโตรอนโต ผลการศึกษาโดย Reddy (2002) ในบทความ
ชื่อ “The Greater Toronto area revisited: From metropolitan government
to unicity,” สรุปว่า เมืองโตรอนโต ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ของประเทศคานาดา ตั้งอยู่ใน
มลรัฐออนตาริโอ Ontario Provincial Government ได้ดำเนินการควบรวมเทศบาล
นคร 4 แห่ง เข้าด้วยกัน โดยเรียกชื่อใหม่ว่า Metropolitan Toronto ในปลายปี
ค.ศ. 1997 และประกาศจัดตั้งเป็นองค์กรใหม่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1998 การเปลี่ยน
ผ่านครั้งนี้ครอบคลุมทุกมิติ กล่าวคือโครงสร้างด้านการเมือง การบริหาร ถือว่าเป็น
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (massive undertaking) โครงสร้างทางการเมือง ประกอบด้วย
นายกเทศมนตรี (Mayor) และกรรมการบริหาร (wards) 45 คน (44 wards +
Mayor)
ในส่วนกิจกรรมของประชาชน ได้จัด Town Hall เป็นสถานที่นัดพบของ
สภาประชาชน สามารถจัดประชุมที่ความจุ 1 พันคน เพื่อเป็นเวทีสำหรับประชาชน
ในการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและปัญหาอุปสรรคที่เมือง
2 สถาบันพระปกเกล้า