Page 67 - 21211_fulltext
P. 67
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ประเทศบราซิล การศึกษาโดย Avellaneda and Gomes 2014 อธิบาย
การปกครองท้องถิ่นโดยสังเขปโดยระบุมี กฎหมายรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1988 ระบุให้
รัฐบาลกลางประกาศความเป็นอิสระของมลรัฐและท้องถิ่น ประกอบด้วย 26 รัฐ และ
จำนวนเทศบาล 5,565 แห่ง ซึ่งมีจำนวนประชากรตั้งแต่ 800 คน ถึง 11 ล้านคน
ค่าเฉลี่ยประชากร 33,145 คนต่อเทศบาล โดยที่บริบทของท้องถิ่นแตกต่างกันค่อนข้าง
มาก อย่างไรก็ตาม ทั้งสองท่านประเมินว่า อำนาจของฝ่ายการเมืองท้องถิ่นได้รับ
การยอมรับนับถือสูงหรือเป็นที่รู้จักกว้างขวาง (สูงกว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติโดย
เปรียบเทียบ) 21
นักวิจัยทั้งสองท่านได้รวบรวมข้อมูล 787 เทศบาลในมลรัฐ Minas Gerais
ช่วงปี ค.ศ. 2005-2008 และพยายามวัดผลการทำงาน (การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน)
โดยสันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระต่าง ๆ อาทิเช่น ระยะเวลาที่ดำรงอยู่
เป็นนายกเทศมนตรี อายุและระดับการศึกษาของนายกเทศมนตรี ผลลัพธ์บ่งชี้ว่า
เทศบาลขนาดใหญ่และความสามารถของฝ่ายบริหารเทศบาล ส่งผลกระทบทางบวก
ต่อการจัดเก็บภาษี (ทรัพย์สิน) 22
21 ถอดความจาก The Brazilian Constitution of 1988 provides for a federal
government and guarantees the independence of state and local levels of
government. As of September 2014, Brazil had 5,565 municipalities across 26 states and
one federal district, with municipal populations ranging from 800 up to 11,037,593, with
an average of 33,145. Although Brazilian municipalities are economically diverse, the
concentration of political power at the subnational level encourages the perception
that governors and capital city mayors hold more political power than federal
legislators (Samuels 1999, 2000).
22 นักวิจัยให้เหตุผลว่า การเลือกเทศบาลในมลรัฐเดียวกันเป็นเทคนิคในการควบคุมส่วนที่เกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม-และปัจจัยเชิงสถาบัน โดยระบุเป็นข้อความว่า By focusing on a single
state, this study controls for cultural, historical, and institutional factors; by focusing on
Brazil, the study tests whether theories crafted for the developed world are applicable
in a transitional economy. After controlling for political (e.g., reelection, party
alignment, party ideology) and economic factors (e.g., gross domestic product, previous
expenditures, service tax collection), results reveal that both population size and
mayoral capacity are positively correlated with property tax collection
สถาบันพระปกเกล้า