Page 72 - 21211_fulltext
P. 72
การประหยัดจากขนาด (economies-of-scale) เป็นหลักการ
และมโนทัศน์ที่สำคัญและบรรจุในหลายตำราเศรษฐศาสตร์และ
การจัดการ ซึ่งให้หลักการว่า การออกแบบองค์กรใด ๆ ควรคำนึงถึง
“ขนาดอันเหมาะสม” นอกเหนือจากการตั้งคำถามว่า สมควรจะผลิต
สินค้าหรือบริการอย่างใด? ใช้ปัจจัยนำเข้าและเทคนิคการผลิตอย่างไร?
จัดทำประมาณการรายได้รายจ่าย ประเมินความคุ้มค่าของการลงทุน
ฯลฯ เนื่องจากขนาดองค์กรที่เล็กเกินไปจะไม่คุ้มค่าไม่ประหยัดและ
ต้นทุนต่อหน่วยสูง ในขณะที่ขนาดองค์การใหญ่เกินไปมีปัญหา
การกำกับควบคุมบุคลากรในการทำงาน ปัญหาการไม่ประสานงาน
ระหว่างกองหรือสำนัก การบริหารที่มีแนวตั้งมากเกินไป จนขาด
ความคล่องตัว เป็นต้น ขนาดที่เหมาะสม (optimal) ช่วยทำให้ต้นทุน
ต่อหน่วยต่ำ แข่งขันในตลาดได้ หลักความคิดนี้ประยุกต์ใช้อย่าง
กว้างขวางในภาคปฏิบัติ ดังประจักษ์ในข่าวว่าหน่วยงานธุรกิจเอกชน
A, B, C วางแผนจะควบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อความเข้มแข็ง ต้นทุนต่ำ
คุณภาพดี สามารถแข่งขันในนานาประเทศได้
เทศบาล และ อบต. เป็นองค์กรภาครัฐที่มีปัญหา “การไม่ประหยัด
จากขนาด” เป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ชัดเจน มีเทศบาล และ อบต.
นับพันแห่งซึ่งมีประชากรน้อย มีพื้นที่จำกัด ซึ่งหมายถึงงบประมาณและ
รายได้ที่จำกัด และอาจส่งผลต่อการบริหารกล่าวคือไม่สามารถ
24
จัดบริการสาธารณะได้ครบถ้วนหรืออย่างมีคุณภาพ ในประเด็นนี้
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้จัดทำข้อเสนอต่อรัฐบาล
และสภานิติบัญญัติ โดยเสนอว่า ก) ควรยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล
และ ข) เทศบาลที่มีขนาดเล็ก ควรเข้าสู่กระบวนการควบรวม
24 จำเป็นต้องเข้าใจประวัติการจัดตั้ง อบต. เป็นไปตาม พรบ. องค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นตามกฎหมาย มีลักษณะ one size fits all
สถาบันพระปกเกล้า