Page 73 - 21211_fulltext
P. 73

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                      ในบทนี้เสนอเนื้อหาซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก ขยายความมโนทัศน์ว่า
                 ด้วยการประหยัดจากขนาด ซึ่งเกี่ยวกับหลักการสำคัญของเศรษฐศาสตร์การจัดการ
                 ซึ่งเกี่ยวกับ ก) การมีต้นทุนคงที่ (fixed cost) ข) ธรรมชาติของระบบการผลิตที่มีช่วง
                 “ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น” (increasing return to scale) ซึ่งอธิบายได้โดยอิงมโนทัศน์

                 ฟังก์ชันการผลิต การเพิ่มปัจจัยนำเข้าทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะให้
                 “ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น” (increasing return) หรือ “ผลตอบแทนลดลง” (decreasing

                 return) ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่าง “ปัจจัยนำเข้าที่เปลี่ยนแปลง” (change of
                 inputs) กับ “ผลผลิตที่เปลี่ยนแปลง” (change of output)  ส่วนที่สอง รายงาน
                 ผลการศึกษาเชิงประจักษ์เพื่อทดสอบข้อสันนิษฐานการประหยัดจากขนาด
                 โดยใช้กรณีศึกษาเทศบาล และ อบต. จำนวน 7,775 แห่ง ซึ่งจำแนกตามประเภท

                 (เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และ อบต.) และจำแนกตามภูมิภาค
                 การวิเคราะห์เริ่มจากแสดงสถิติเชิงพรรณนา พร้อมกับข้อสังเกตเปรียบเทียบ ต่อจากนั้น
                 ผลประมาณการตามแบบจำลองเศรษฐมิติ (เทคนิค robust regression) เพื่อศึกษา

                 ความสัมพันธ์ 3 สมการ และข้อสังเกตระหว่างตัวแปรตาม (ต้นทุนต่อหน่วย) กับขนาด
                 ประชากรของ เทศบาล และ อบต. การแสดงผล ด้วยรูปภาพ (graphical analysis)
                 ส่วนที่สาม การอภิปรายและข้อสังเกต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การไม่ประหยัดจากขนาด”

                 กรณีที่มีจำนวนประชากรในเทศบาล หรือ อบต. น้อยเกินไป นำไปเสนอเป็น
                 ข้อพิจารณาศักยภาพของการควบรวม อย่างไรก็ตามในการควบรวม 2-3 หน่วยงาน
                 ท้องถิ่นเข้าด้วยกันนั้น มีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จะต้องคำนึงถึงนอกเหนือจาก “ต้นทุน

                 ต่อหน่วย” อาทิเช่น ก) พื้นที่ของ 2-3 หน่วยงานมีอาณาเขตติดต่อกัน ข) ขนาดพื้นที่
                 หลังควบรวมไม่ใหญ่จนเกินไปซึ่งจะทำให้ “ระยะทางการติดต่อ” ระหว่างราษฎรกับ
                 ศูนย์บริการของเทศบาล ไกลจนเกินไปจนเป็นอุปสรรคหรือใช้เวลาเดินทางมาก

                 ค) ความรู้สึกและการยอมรับของประชาชนในหัวข้อการควบรวม ง) การประชาสัมพันธ์
                 และให้ความรู้ประชาชน จ) การออกแบบและปรับปรุงสถานที่ทำงานภายหลัง
                 การควบรวม เป็นต้น













               0 สถาบันพระปกเกล้า
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78