Page 75 - 21211_fulltext
P. 75
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
๏ ตัวชี้วัดที่สาม capxser per capita หมายถึง ค่าใช้จ่ายการจัดบริการ
ประชาชนต่อจำนวนประชากร
๏ Null hypothesis: ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ
อีกนัยหนึ่งค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0
๏ Alternative hypothesis: มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปร
อิสระ โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์เป็นค่าบวก หรือ ลบอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งบ่งชี้
การประหยัดจากขนาด สะท้อนในค่าสัมประสิทธ์ของ pop และ
pop100sq ขยายความคือ ค่า beta ของ pop100 < 0 และ gamma
ของ pop100sq > 0 หมายถึง การลดลงของตัวแปรตามเมื่อจำนวน
ประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงแรก (decreasing cost) อย่างไรก็ตามมีขนาด
ประชากรเพิ่มขึ้น จะมีผลทางบวกซึ่งหมายถึงต้นทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(increasing cost)
3.2 การวิเคราะห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนทั้งสิ้น
2,947 แห่ง จำแนกได้เป็น อบต. จำนวน 2,058 แห่ง เทศบาลนคร จำนวน 5 แห่ง
เทศบาลเมือง จำนวน 37 แห่ง และเทศบาลตำบล จำนวน 847 แห่ง
ผลการศึกษาโดยแบบจำลองเศรษฐมิติ โดยให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดต้นทุนและ
นำไปทดสอบข้อสันนิษฐาน “การประหยัดจากขนาด” ตัวแปรบ่งชี้การประหยัดต่อ
ขนาด ประกอบด้วย ก) จำนวนเจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่อประชากร
ข) งบบุคลากรท้องถิ่นต่อจำนวนประชากร และ ค) ค่าใช้จ่ายการจัดบริการประชาชน
ต่อจำนวนประชากร
ผลการประมาณการ แสดงในตารางที่ 3.1
๏ สมการแรก แสดงถึงการกำหนดจำนวนเจ้าหน้าที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ต่อประชากร (Staff/pop1000) โดยมีค่า adjusted R = 0.50205
2
2 สถาบันพระปกเกล้า