Page 74 - 21211_fulltext
P. 74
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
3.1 การประหยัดจากขนาด มโนทัศน์และการวัด
หลักการประหยัดจากขนาด (economies of scale) แม้ว่าเป็นหลักการ
25
ที่ยอมรับทั่วไป แต่เมื่อจะนำไปประยุกต์ใช้จำเป็นต้องคำนึงถึง “บริบท” หมายถึง
สภาพองค์กร ลักษณะสินค้าและบริการ ปัจจัยนำเข้า กฎระเบียบและแรงจูงใจของ
องค์กร ในที่นี้หมายถึง เทศบาล และ อบต. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ ทำงานภายใต้ระเบียบ
และกฎเกณฑ์ “บริการของเทศบาล / อบต.” หมายถึง บริการสาธารณะท้องถิ่น (local
public goods) ตามอำนาจหน้าที่ หรือตามสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ หน่วยงาน
ท้องถิ่นมิได้รับ “ค่าบริการ” จากประชาชน แต่ได้รับงบประมาณจากรัฐเพื่อจัดบริการ
โดยมีงบประมาณจำกัด ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญคือ บุคลากร ความรอบรู้และทักษะ
ทุนและเครื่องจักรเครื่องมือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็น การวัดการประหยัดจากขนาด
(หรือความไม่ประหยัดจากขนาด) มักจะวัดด้วย “เส้นต้นทุน” (cost curve: C(q))
โดยที่ C คือ ต้นทุน ซึ่งอาจจำแนกตามประเภท คือ ต้นทุนบุคลากร ต้นทุนค่าลงทุน
ต้นทุนการดำเนินงาน/กิจกรรม ในขณะที่ q คือ ปริมาณของบริการสาธารณะที่ผลิต
ซึ่งท้ายที่สุดมาจาก “อุปสงค์” คือความต้องการของประชาชน โดยอิง “proxy
variables” เช่น จำนวนประชากร จำนวนบ้าน/โรงเรือน/ร้านค้า/โรงงาน ความหนาแน่น
ของประชากร ฯลฯ
ตัวแปรที่สะท้อนหรือชี้วัดการประหยัดจากขนาด ได้แก่
๏ ตัวชี้วัดที่หนึ่ง Staff/pop1000 หมายถึง จำนวนเจ้าหน้าที่องค์การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต่อประชากร 1,000 คน
๏ ตัวชี้วัดที่สอง capxstaff per capita หมายถึง งบบุคลากรท้องถิ่นบุคลากร
ต่อจำนวนประชากร
25 นอกเหนือจาก “การประหยัดจากขนาด” มีอีกมโนทัศน์หนึ่งที่เรียกว่า economies of scope
หมายถึง หน่วยการให้บริการ y1, y2 อยู่แล้ว สามารถเพิ่มบริการ y3 โดยใช้บุคลากร สถานที่เดิม และ
อุปกรณ์ที่มีอยู่ ผลรวมคือ ต้นทุนต่อหน่วยมีแนวโน้มลดลงเมื่อขนาดการให้บริการเพิ่มขึ้น สะท้อนในเส้น
ต้นทุนต่อหน่วย U-shaped ซึ่งสะท้อนในรูปภาพ แกนตั้ง หมายถึง ต้นทุนต่อหน่วย แกนนอน หมายถึง
ขนาด (scale of operation) โดยมีข้อสันนิษฐานแบบแผนต้นทุน กล่าวคือ ช่วงแรก ต้นทุนต่อหน่วย
ลดลง ช่วงที่สอง ต้นทุนต่อหน่วยถึงจุดต่ำสุด ช่วงที่สาม ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
สถาบันพระปกเกล้า 1