Page 91 - kpi21193
P. 91
วิธีปฏิบัติขององค์กร (Organization Practices)
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
1) ในการทำงาน หากมีปัญหาในการทำงานบุคลากรของเทศบาลนครเชียงราย
มีการเปิดอกพูดคุยกันเพื่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานได้
2) บุคลากรเทศบาลนครเชียงรายมักพูดคุยกับประชาชน อย่างเป็นกัลยาณมิตร
เพื่อทำความเข้าใจความรู้สึก/มุมมอง/ความคิดเห็นของพวกเขา
3) ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น บุคลากรของเทศบาลปรึกษาหารือกับ
หน่วยงานนั้นเพื่อทำความเข้าใจปัญหาร่วมกัน
4) ผู้บริหารมีการพูดคุยกับประชาชน เพื่อรับทราบมุมมอง/ความคิดเห็น/ความรู้สึกที่มีต่อ
นโยบายและโครงการของเทศบาลนครเชียงราย ผ่านการลงพื้นที่หรือช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ โทรศัพท์ ฯลฯ
5) ในการทำงานในองค์กรผู้บริหารมีการรับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะที่เสนอโดย
ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสนอกสนใจ ให้โอกาสได้พบปะพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง
6) แกนนำองค์การชุมชน เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ เข้าใจงาน
และมีความเสียสละ ในการทำงานเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้การขับเคลื่อนงานดำเนินไปด้วย
ความเรียบร้อย
7) การสนับสนุนของหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการมหาวิทยาลัย
วัยที่สาม ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองคลักษณ์ นครนายก มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา และปราชญ์ชุมชนสาขาต่างๆ เข้ามาร่วมจัดหลักสูตรการเรียนการสอน JICA เข้ามา
สนับสนุนอุปกรณ์และสื่อการสอนต่างๆ อีกทั้งทางเทศบาลนครเชียงราย ได้เขียนโครงการเพื่อขอ
เข้าร่วมเครือข่ายของ สสส. สำนัก 3 ที่เข้ามาสนับสนุนกระบวนการทำงานของเทศบาล
วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture)
1) เทศบาลนครเชียงรายให้ความสำคัญกับทัศนคติเกี่ยวกับเอกสารและการสร้างระบบงาน
ที่เป็นทางการ (Informal or Formal)
2) ความเมตตาและเอื้ออาทรของกลุ่มจิตอาสา ที่ผูกพันกับชุมชนทำให้เทศบาลได้รับ
การสนับสนุนจากคนในพื้นที่อย่างเต็มที่ เป็นปัจจัยสำคัญลำดับแรกที่ทำให้ชาวชุมชนในเขต
เทศบาลนครเชียงรายสามารถดำเนินการโครงการ /กิจกรรมต่างๆ ได้จนสำเร็จ
2 สถาบันพระปกเกล้า