Page 90 - kpi21193
P. 90

วัตถุประสงค์ โดยมักจะคำนึงถึงความสำคัญ/ความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนท้องถิ่น
                      และจัดสรรงบประมาณและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความสำคัญ

                      เร่งด่วนของปัญหา และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือริเริ่มวิธีการทำงานใหม่ ๆ
                      แม้ว่าจะขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติแบบเดิม ๆ ที่เคยทำมา อีกทั้งผู้นำมักจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นคัดค้าน
                      ความคิดเห็นได้ โดยไม่ขัดแย้งกัน


                              ซึ่งในส่วนประเด็นวิธีปฏิบัติขององค์กร (Organization Practices) และวัฒนธรรม
                      องค์กร (Organization Culture) ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
                      ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ พบว่า ต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกัน โดยมีผลคะแนน  “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                      เฉลี่ยสูงสุด

                              ผลการศึกษาพบว่า ในประเด็นวิธีปฏิบัติขององค์กร (Organization Practices)
                      ด้านที่มีผลคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ วิถีแห่งนวัตกรรม ซึ่งในประเด็นที่เป็นจุดเด่นของวิธีปฏิบัติ

                      ในการเอื้อให้เกิดนวัตกรรมของเทศบาลนครเชียงรายคือ การเปิดโอกาสอย่างถ้วนหน้า กล่าวคือ
                      ผู้บริหารของเทศบาลนครเชียงราย เปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรสามารถนำเสนอ

                      โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมต่อผู้บังคับบัญชาได้ แม้ไม่ใช่ฝ่ายแผนหรือหน่วยงานวิชาการ
                      ฯลฯ

                              ในส่วนประเด็นวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) วัฒนธรรมองค์กรกลุ่ม

                      (Functionalization) มีผลคะแนนเฉลี่ยสูงสุดโดยพบว่า วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับ
                      ความเป็นเจ้าของ (Ownership) คือ ทัศนคติต่อการสนับสนุนบุคลากร (Manipulative or
                      Facilitative) และ การจัดการปัญหาวิกฤติอย่างสมบูรณ์แบบ (Self-doubting or Self-

                      confident) ซึ่งเห็นว่าบุคลากรในเทศบาลมีการส่งเสริมหรือเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคิดและ
                      ปฏิบัติงานด้วยตนเอง โดยไม่เข้าไปชี้นำ และเทศบาลมีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย

                      การเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีต เพื่อไม่ให้องค์กรสูญเสียความไว้วางใจจากประชาชน

                      บทเรียนวิธีปฏิบัติขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร และภาวะผู้นำ                                ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของ

                      เทศบาลนครเชียงราย


                            สำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาล
                      นครเชียงราย สามารถดำเนินโครงการจนสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้นั้น มีทั้งปัจจัย

                      ภายในและปัจจัยภายนอก ดังนี้







                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า    1
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95