Page 92 - kpi21193
P. 92
3) ความสามัคคีและความพร้อมเพรียงของชุมชน ที่มีความตื่นตัว มีความมุ่งมั่น และมี
การรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
ศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Capacity)
1) ผู้นำเทศบาลมีหลักการในการทำงานที่ชัดเจน ในการตัดสินว่าอะไรถูกผิดในการทำงาน
มีความรู้รอบตัว รู้เท่าทัน รู้บริบท สามารถวิเคราะห์สถานการณ์
2) ผู้นำเทศบาลมีการนำความรู้เหล่านั้นมาหาโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น หรือ
ทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงความสำคัญ หรือความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นใน “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งจัดสรรงบประมาณและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้อง
กับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา
3) ผู้นำเทศบาลกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือริเริ่มวิธีการทำงานใหม่ ๆ แม้ว่า
จะขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติแบบเดิม ๆ ที่เคยทำมา จึงทำให้เทศบาลเกิดนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนา
องค์กรและท้องถิ่นอยู่เสมอ
4) ผู้นำเทศบาล มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อยู่เสมอ ซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชา หรือประชาชนทั่วไปสามารถคัดค้านความคิดเห็นของตน
5) นายกเทศมนตรี และคณะผู้บริหาร แสดงภาวะผู้นำในการปกครองคนในชุมชน
โดยการแสดงให้คนในชุมชนเห็นถึงศักยภาพและการตื่นตัวของผู้นำในการพัฒนาชุมชน
6) ในการบริหารงานต่างๆ ผู้นำเน้นให้บุคลากรในองค์กร และชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม
ในทุกขั้นตอนของการพัฒนา เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
7) ผู้นำจะต้องมีความโปร่งใส ซื่อสัตย์และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนอย่างจริงจัง
ถ้าผู้นำสามารถทำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นได้ เช่น ทำงานอย่างโปร่งใส ใส่ใจประชาชน ทำงาน
ที่สามารถตรวจสอบได้ สามารถแก้ปัญหาได้จริง ก็จะเป็นผลดีในการพัฒนาชุมชนให้ชุมชน ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
มีความเข้มแข็งลดปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน สามารถทำให้ชุมชนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
เกิดความรักและห่วงแหนทรัพยากรที่มีภายในชุมชน คนในชุมชนเกิดทัศนคติใหม่ในการร่วมกัน
พัฒนา “ทุกอย่างจะพัฒนาได้ จะต้องพัฒนาจากตัวบุคคลเองก่อน”
สถาบันพระปกเกล้า