Page 89 - kpi21193
P. 89
บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา และกล้า
ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือริเริ่มวิธีการทำงานใหม่ ๆ แม้ว่ามันขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติ
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
แบบเดิม ๆ ที่เคยทำมา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 คิดเป็นร้อยละ 93.33 รองลงมาคือ ผู้นำ
มีหลักการที่ชัดเจนในการตัดสินว่าอะไรถูกผิดในการทำงาน และเปิดโอกาสให้ผู้อื่นคัดค้าน
ความคิดเห็นของตนเองได้ โดยไม่ขัดแย้งกัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 หรือร้อยละ 86.66
ในส่วนของภาคประชาชน จากประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership
Capacity) ของผู้บริหารเทศบาล ศึกษา 6 มิติเช่นเดียวกับการศึกษากับผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่
ระดับปฏิบัติงาน ให้ความหมายของระดับพฤติกรรมของนายกฯ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยที่ คะแนน 4 หมายถึง ทำเป็นประจำสม่ำเสมอทุกครั้งตลอดเวลา คะแนน 3 หมายถึง ทำบ่อย
ครั้ง คะแนน 2 หมายถึง ทำบ้าง นาน ๆ ครั้ง และ คะแนน 1 หมายถึง ไม่ทำเลย พบว่า ศักยภาพ
ผู้นำเทศบาลนครเชียงรายในทัศนะของประชาชน มีค่าคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ กว่าร้อยละ
83.00 ทุกประเด็น โดย ความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ
3.56 คิดเป็นร้อยละ 85.20 รองลงมาคือ ความสามารถในการสร้างความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มี
ปัญญาเชิงปฏิบัติ (องค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง) มีค่าเฉลี่ย 3.55 คิดเป็นร้อยละ 85.19
หายพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี ประชาชน
ในเขตเทศบาลนครเชียงรายเห็นว่าผู้นำมีความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสร้างสิ่งที่ดี มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.56 หรือร้อยละ 85.2 ประเด็นที่เห็นว่าผู้นำปฏิบัติได้ดีมาก คือ นายกฯ เป็นผู้มีความรู้
รอบตัว รู้เท่าทัน รู้บริบท สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และนำความรู้เหล่านั้นมาหาโอกาสใหม่ ๆ
ในการพัฒนาท้องถิ่น หรือทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ ร้อยละ 87.67 และประเด็นนายกฯ
มักจะมีหลักการที่ชัดเจนในการตัดสินว่าอะไรถูกผิดในการทำงาน ร้อยละ 86.0
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา 3 ประเด็น คือ วิธีปฏิบัติขององค์กร (Organization Practices) วัฒนธรรมองค์กร
จากการประเมินผลสมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็งของเทศบาลนครเชียงราย ทั้ง
(Organization Culture) และศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Capacity)
ผลการศึกษาพบว่า ในประเด็นศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Capacity) การศึกษา
กับผู้นำของเทศบาลนครเชียงราย ประเด็นที่ถือว่ามีศักยภาพมากที่สุด คือ ความสามารถในการ
ตัดสินใจ เพื่อสิ่งที่ดี ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ และประชาชน นั้นต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกัน โดยมีผลคะแนน
เฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการตัดสินใจเพื่อสิ่งที่ดี กล่าวคือ ผู้นำมีหลักการที่ชัดเจน
ในการตัดสินว่าอะไรถูกผิดในการทำงาน มีความรู้รอบตัว รู้เท่าทัน รู้บริบท สามารถวิเคราะห์
สถานการณ์ และนำความรู้เหล่านั้นมาหาโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่น หรือทำให้งานบรรลุ
0 สถาบันพระปกเกล้า