Page 93 - kpi21193
P. 93

สมรรถนะองค์กรของเทศบาลนครเชียงรายในการถ่ายทอดบทเรียน
                  ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น

                        สรุปบทเรียนที่ได้จากการเรียนรู้จากการบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครอง

                  ส่วนท้องถิ่น (Best Practice) “กรณีศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครเชียงราย
                  จ.เชียงราย” ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการศึกษากระบวนการขับเคลื่อนโครงการ

                  ของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้
                  ในหน่วยงาน มีดังนี้

                        1.  การพัฒนาความรู้และแนวทางการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของโครงการฯ

                  ได้แก่ วิเคราะห์พื้นที่ สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ลองผิดลองถูก ทำงาน
                  อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบอย่างมีวิชาการ ใช้ประสบการณ์วิชาชีพเดิมเป็นต้นทุนและพัฒนาตนเอง

                  สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ นำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสม และมี
                  การจัดการความรู้จากทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่ ชาวบ้านและมีการประชุมสม่ำเสมอ


                        2. การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาชุมชน โดยเน้นสร้างทีมทำงานให้เข้มแข็ง สื่อสารทำความ
                  เข้าใจด้วยภาษาชาวบ้าน รู้จักคน รู้จักพื้นที่ วิเคราะห์ชุมชน/ปัญหา เสริมสร้างความเข้มแข็งและ
                  ความมั่นคงในคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน การพูดคุยเจรจากับชาวบ้านและผู้เกี่ยวข้อง เจรจาให้

                  ชัดเจน ขอร้อง โน้มน้าว การสร้างเงื่อนไข ข้อตกลง และไม่สั่งการ ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ และ
                  องค์กรท้องถิ่นร่วมพัฒนา และทำงานเป็นทีม แบ่งปันความสุขความสำเร็จภายในและระหว่างทีม

                  รวมทั้งกำหนดกรอบ ขอบเขต และบทบาทที่ชัดเจนในการทำงาน

                        3. การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และบุคคลภายนอก ควรให้ชาวบ้านสื่อกับชาวบ้าน
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจน ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ตรงความต้องการของชุมชนและเข้าใจ
                  สร้างต้นแบบ ตัวอย่าง ให้เห็นภาพความสำเร็จ อาจจะเป็นปัจเจกบุคคลหรือองค์ความรู้ตามหลัก



                  วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น


                        4.  การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้
                  สู่ชุมชน ประกอบด้วย รายได้เพิ่มขึ้น มีความสุข ความอบอุ่น และความมั่นคงในการดำรงชีวิต
                  มีจิตสำนึกและทัศนคติในการพัฒนา ชุมชนมีส่วนร่วม/ชุมชนเข้มแข็ง มีหลักสูตรชุมชน และ

                  ภูมิปัญญา ชาวบ้านนำความรู้ไปใช้ เกิดการรวมกลุ่ม/เครือข่ายเพิ่มขึ้น และความอุดมสมบูรณ์ของ
                  ทรัพยากรเพิ่มขึ้น









                      สถาบันพระปกเกล้า
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98