Page 96 - kpi21193
P. 96
สภาวะผู้นำต้องปรับเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในแง่ของการเข้าใจตนเองในทางจิตวิทยา การเข้าใจสังคม
การทำงานในลักษณะจิตอาสาและบางครั้งจะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเงินที่มี
ความละเอียดอ่อน ดังนั้น การสร้างผู้นำที่มีทักษะความรู้ และบุคลิกลักษณะที่หลากหลายจึงเป็น
หัวใจสำคัญประการหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของขบวนชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น
ให้พึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
2) มีพื้นที่เพื่อเปิดโอกาสและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ มาร่วมพัฒนาองค์กรและท้องถิ่น
เนื่องจากคนรุ่นใหม่มักเป็นคนที่เปิดกว้างทางความคิด และมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับความคิด
และมุมมองใหม่ ๆ ในการวางแผนและดำเนินการในโครงการต่างๆ โดยนำความแตกต่างที่แต่ละ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
คนมี ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถ ชุดทักษะ และภูมิหลังทางสังคมมาผสมผสานกัน
แบ่งเป็นกลุ่ม และเน้นการทำงานเป็นทีม
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
การสร้างกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กรนั้น การสร้างความแตกต่าง
ในการบริหารองค์กร และการมุ่งเน้นเฉพาะกลุ่ม (Focus) ในการให้บริการ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
เด็ก เป็นต้น ซึ่งการนำองค์ประกอบเหล่านี้มาใช้ในองค์กร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและ
เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้น จำเป็นต้องผสมผสานและพัฒนาด้าน การจัดการในทุกมิติ ทั้งมิติ
ด้านนวัตกรรมการจัดการ มิติด้านการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร มิติ ด้านภาวะผู้นำ มิติด้าน
วัฒนธรรมองค์กร และมิติด้านวิธีปฏิบัติขององค์กร สร้างความผูกพันของพนักงาน โดยเฉพาะด้าน
การจัดการกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและเป็นปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้ง
การพัฒนากลยุทธ์ในด้านการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารให้ทันสมัยตรงกับ
ความต้องการของงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยต้องมีการกำหนด
มาตรฐานการทำงาน การตรวจสอบและประเมินผล ซึ่งจะสามารถส่งเสริมและพัฒนาให้เป็น
องค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างแท้จริง ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
สถาบันพระปกเกล้า