Page 101 - kpi21193
P. 101
(8) นโยบาย นครแห่งการสร้างสรรค์ “ตัวตนคนภูเก็ต” โดยการสร้างคุณค่าชาวเทศบาล
นครภูเก็ต ด้วยการสร้างจิตสำนึกให้มีความกตัญญู รักและภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด สนับสนุน
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
การจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาทุกศาสนาทุกเชื้อชาติ
สนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายต่างๆ ในการเสริมสร้างอัตลักษณ์เมือง
นวัตกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
1. สภาพปัญหา
พื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นศูนย์กลางการค้าและธุรกิจ สถานที่
ราชการ ส่วนพื้นที่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณย่านที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างหนาแน่น โดยเฉพาะในเขต
เมืองเก่า ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ทั้งนี้ สภาพทั่วไปของย่านเมืองเก่า
ภูเก็ตนั้น มีถนนค่อนข้างเล็กและแคบไม่สามารถขยายออกไปได้ อาคารเก่าแก่ส่วนใหญ่
มีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน และยังเป็นแหล่งรวมชุมชนเก่าแก่ที่มี
กลิ่นไอของความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแบบจีนมลายู ที่เรียกว่า
“บาบ๋าย่าหยา” (เทศบาลนครภูเก็ต, 2562) ด้วยความซบเซาของกิจการเหมืองแร่ดีบุก ส่งผลให้
สภาพชุมชนในย่านนี้เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับอดีตอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ เจ้าของ
อาคารในย่านเมืองเก่าส่วนใหญ่นิยมส่งลูกหลานไปเรียนต่างถิ่น มีน้อยคนที่หวนคืนกลับมา
อยู่อาศัยที่บ้านเดิม หลายคนซื้อบ้านใหม่อยู่นอกเมือง หลายคนหาช่องทางทำธุรกิจตามแหล่ง
ท่องเที่ยวรอบเกาะ แล้วย้ายออกไปอยู่ใกล้กิจการของตน ปล่อยอาคารเดิมให้รกร้างว่างเปล่าและ
เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา บางแห่งปล่อยเช่าหรือขายเปลี่ยนมือ ซึ่งเจ้าของใหม่หรือผู้เช่าอาศัย
ได้ปล่อยปละละเลย หรือปรับเปลี่ยนลักษณะภายนอกของอาคารให้ดูทันสมัยเพื่อทำการค้า
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา ลง และเยาวชนรุ่นใหม่จะลืมรากเหง้าของตนเอง ละเลยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษสร้างไว้
โดยไม่สนใจความสวยงามของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคาร (เทศบาลนครภูเก็ต, 2562)
เทศบาลนครภูเก็ตจึงตระหนักว่าหากไม่ดำเนินการใด ๆ เศรษฐกิจในเขตเมืองจะยิ่งแย่
จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ตขึ้น ซึ่งเทศบาลนครภูเก็ต
ได้ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ สมาคมเพอรานากัน กรมธนารักษ์ สำนักงานวัฒนธรรม
จังหวัดภูเก็ต ศาลเจ้าจุ้ยตุ๋ยเต้าโบเก้ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต และ
มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เมืองเก่าภูเก็ตกลับมาคึกคักเหมือนที่เคย
เป็นมาเช่นในอดีต โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืนทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม อาทิ จัดงาน
ตรุษจีนย้อนอดีตเมืองภูเก็ต จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์ จัดงานหลาดใหญ่น่าเดิน
2 สถาบันพระปกเกล้า