Page 103 - kpi21193
P. 103

2) ด้านวัฒนธรรม เทศบาลนครภูเก็ตได้ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ได้แก่
                  สมาคมเพอรานากัน กรมธนารักษ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ศาลเจ้าจุ้ยตุ๋ยเต้าโบเก้ง
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ชุมชนเมืองเก่าภูเก็ต และมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต ในการส่งเสริม
                  วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของคนเมืองภูเก็ต มีการจัดกิจกรรม
                  ประเพณีต่าง ๆ อาทิ (1) การจัดงานย้อนอดีตเมืองภูเก็ต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นบนถนนถลาง

                  ตลอดสายในย่านเมืองเก่า ในงานมีการจัดนิทรรศการ เปิดเวทีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง
                  การอนุรักษ์เมืองเก่า การจัดแสงสีเสียง การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การออกร้านจำหน่ายอาหาร

                  พื้นเมือง เป็นกิจกรรมที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวรวมทั้งประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง
                  เข้ามาเที่ยวชมทุกปีจำนวนมาก (2) การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น
                  การบูชาเทพเจ้าของชาวจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ การบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เทศกาลกินเจ

                  และการรำลึกถึงการก่อร่างสร้างเมืองภูเก็ต ซึ่งงานอนุรักษ์เช่นนี้ได้รับการตอบรับจากชุมชน
                  เป็นอย่างดี (3) การส่งเสริมการฟื้นฟูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชน เนื่องจากชุมชน

                  ที่อาศัยอยู่ย่านเมืองเก่าส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนมลายู (Strait Chinese) หรือเรียกว่า
                  บาบ๋ายาหยา ซึ่งมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลายที่น่าสนใจและเป็นจุดขายสามารถดึงดูด
                  นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชน เช่น อาหารการกิน ชุดแต่งกาย

                  พิธีแต่งงาน เป็นต้น ดังนั้น เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้ร่วมกับชุมชนในเขตเทศบาล และสมาคมต่างๆ
                  จัดกิจกรรมเพี่อฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ


                            นอกจากนี้ เทศบาลนครภูเก็ตยังได้มีการดำเนินการด้านอื่นๆ อาทิ การส่งเสริม
                  การท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่า เช่น ทำแผนที่เส้นทางเดินเท้าพร้อมแสดงจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

                  การจัดอบรมมัคคุเทศก์เยาวชนจากชุมชนเมืองเก่า การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว การก่อตั้ง
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   สถาปัตยกรรมอาคาร วัฒนธรรม และสภาพความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม การจัดพิมพ์วารสาร
                  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในการร่วมอนุรักษ์


                  “รัษฎานุสาร” เผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของเมืองภูเก็ต เกร็ดความรู้เรื่อง
                  ประเพณีวัฒนธรรม และการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มและพัฒนาความเข้มแข็ง เช่น ก่อตั้ง

                  กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่บ้านกอจ้าน
                  ใกล้สะพานหิน หาช่องทางส่งเสริมการขายสินค้าที่เป็นผลผลิตของกลุ่มเพื่อเสริมสร้างรายได้
                  ให้ชุมชน หรือกิจกรรมของกลุ่มสามล้อในเมือง เพื่อเป็นทางเลือกและเพิ่มความหลากหลายของ

                  รูปแบบการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า (เทศบาลนครภูเก็ต, 2562)











                      สถาบันพระปกเกล้า
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108