Page 105 - kpi21193
P. 105

ขยายเวลาเปิดทำการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่
                  มีทัศนคติเชิงบวกต่อการจัดกิจกรรม ผู้ประกอบการในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  มีทัศนคติเป็นกลางต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต,
                  2561)


                          2)  อาคารที่ถูกทิ้งร้างมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อประกอบกิจการค้าเพิ่มขึ้น
                  การอนุรักษ์อาคาร วิถีชีวิต จนกลายเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองที่มีชีวิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว
                  ทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสังคมพหุวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เกิดการ

                  สร้างงาน สร้างอาชีพ มีธุรกิจ Start Up เกิดขึ้นในพื้นที่โดยลูกหลานคนในชุมชน นำไปสู่
                  การพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถรับคณะศึกษาดูงานได้โดยไม่ต้องผ่าน

                  เทศบาล และยังได้รับเลือกเป็นชุมชนตัวอย่าง 1 ใน 16 แห่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                  (เทศบาลนครภูเก็ต, 2562)


                          3) ได้รับการประกาศให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารจากองค์การยูเนสโก
                  โดยเทศบาลนครภูเก็ตได้รับประกาศยกย่องเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารจากยูเนสโก ประจำปี
                  2558 ซึ่งเป็นเมืองแรกของประเทศไทยและของอาเซียน และเป็นหนึ่งใน 18 เมืองของโลก

                  ด้านอาหาร เนื่องจากภูเก็ตมีจุดเด่นสำคัญด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะ
                  วัฒนธรรมอาหาร เช่น อาหารทะเล อาหารไทย อาหารบาบ๋าท้องถิ่น และอุตสาหกรรมอาหาร

                  แปรรูป ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของภูเก็ตที่มีความเข้มแข็ง ทำให้สามารถ
                  สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

                        4.  ปัญหา อุปสรรค

            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   เมืองและบริบทของเมือง เช่น การกำหนดผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของเมือง อาจส่ง
                          1)  การบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนา



                  ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อกังวลของเทศบาล
                  นครภูเก็ตที่มีต่อการกำหนดผังเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนอกจากนี้ ยังขาดกฎหมายอนุรักษ์

                  เมืองเก่าเป็นการเฉพาะ รวมถึงกฎหมายสำหรับควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพอาคาร

                          2)  การจัดระบบการใช้พื้นที่สาธารณะ: ทางเท้าและหงอคากี่ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก
                  รวมทั้งการสังเกตพื้นที่เมืองเก่า ทีมวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการบางส่วนได้นำสินค้ามาวางขาย

                  และปิดขวางทางเดินหน้าอาคาร (หงอคากี่) และบางส่วนมีการปิดกั้นหงอคากี่แบบถาวร ทำให้
                  ความสวยงามและคุณค่าของอาคารเก่าลดลง รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการเดินเที่ยวชมเมืองของ

                  นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ฝนตก




                      สถาบันพระปกเกล้า
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110