Page 106 - kpi21193
P. 106
3) การจัดการผลกระทบที่เกิดจากโครงการของเทศบาล เช่น โครงการ “ถนนน่าเดิน
หลาดใหญ่” บริเวณถนนถลาง เนื่องจากโครงการ “ถนนน่าเดินหลาดใหญ่” เป็นกิจกรรมที่มี
การดำเนินการทุกวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 13.00-24.00 น. โดยมีการปิดถนนเพื่อจัดกิจกรรม
ขายสินค้าและบริการ กิจกรรมนันทนาการและการแสดงต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาการจราจร
เนื่องจากพื้นที่จอดรถมีจำกัด ทำให้มีการจอดรถขวางทาง นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการบริการ
ห้องน้ำสาธารณะ ที่นั่งพักผ่อนที่ไม่เพียงพอสำหรับประชาชน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม
4) การนำองค์ความรู้มาใช้ในการบูรณะอาคารเก่า เนื่องจากการบูรณะอาคารเก่า
ในพื้นที่เมืองเก่านี้ต้องอาศัยความรู้เชิงช่าง เชิงสถาปัตยกรรมมาเกี่ยวข้อง รวมทั้งความเข้าใจ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ขั้นตอนการอนุรักษ์ หากไม่มีองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องก็อาจจะเป็นการทำลายสภาพอาคาร
เก่าเหล่านี้ได้
5) การเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้และการสื่อสารสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน เนื่องจาก
แหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เอกชนที่ตั้งในเขตเทศบาลนครภูเก็ตมีอยู่กระจัดกระจาย ซึ่งแหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑ์เหล่านี้มีการบริหารจัดการโดยเจ้าของที่สืบทอดต่อกันมา มีองค์ความรู้เฉพาะตัว
ซึ่งยังขาดการนำมาเรียงร้อยให้เป็นเรื่องราวเดียวกันที่สามารถแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ และ
ความหลากหลายในเชิงวัฒนธรรมซึ่งมีทั้งจีน มาเลเซีย ชาวเล และยุโรปที่มาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
6) การสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี
อันดีงามต่อไปในอนาคต
5. ข้อเสนอแนะ
1) เทศบาลนครภูเก็ตควรร่วมกับภาคเอกชน ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชน
ในพื้นที่ ในการกำหนดรูปแบบของเมืองให้ชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใด โดยนำข้อมูลที่ได้จาก
การศึกษาแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่า ซึ่งศึกษาโดยสถาบัน ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง มาใช้ในการพิจารณา
2) ในการจัดระบบการใช้พื้นที่สาธารณะ: ทางเท้าและหงอคากี่ เทศบาลนครภูเก็ต
ควรมีการจัดประชุมร่วมกันกับเจ้าของอาคารหรือผู้เช่าอาคาร นำเสนอภาพจำลองเพื่อให้เห็น
ภาพร่วมกันว่า หากปล่อยให้หงอคากี่โล่งแล้วจะมีความสวยงามเช่นไร จากนั้น เทศบาลนครภูเก็ต
ควรปรึกษาหารือถึงทางเลือกที่จะสามารถทำได้ อันเป็นการสร้างความร่วมมือกับเจ้าของอาคาร
และผู้เช่า
สถาบันพระปกเกล้า