Page 104 - kpi21193
P. 104
3. ความสำเร็จ
สำหรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ
เทศบาลนครภูเก็ต ดังนี้
1) สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น โดยเทศบาลนครภูเก็ตร่วมกับคณะบริการและการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ศึกษาผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่
ย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต เป็นการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มาเยือนและผู้ประกอบการในพื้นที่
โดยประเมินผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจต่อผู้ประกอบการในพื้นที่ จากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
เชิงวัฒนธรรม จากการพัฒนาภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตย์ และระบบสาธารณูปโภค ประเมิน
ความคาดหวังและความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวและกลุ่มนักทัศนาจร เป็นต้น โดยเปรียบเทียบ
จากฐานข้อมูลการจัดเก็บภาษี 5 ปีย้อนหลัง (ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย และภาษี บำรุงท้องที่)
จำนวนฐานข้อมูลสถานประกอบการ 5 ปีย้อนหลัง (ที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้า) และจำนวน
นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่เมืองเก่า 5 ปีย้อนหลัง พบว่า กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ที่จัดขึ้นในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต ทั้งถนนคนเดินหรือเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ ได้รับความสนใจ
จากนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมซึ่งสามารถดึงดูดผู้คน
ให้เข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยกิจกรรมตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต เป็นกิจกรรมทาง
วัฒนธรรมที่เทศบาลนครภูเก็ตจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยล่าสุดจัดไปเมื่อวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์
2561 มีผู้ร่วมงานกว่า 10,553 คน ส่วนโครงการถนนน่าเดิน “หลาดใหญ่” เป็นถนนคนเดิน
ที่จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ โดยเริ่มตั้งแต่ 13.00-22.00 น. จากการศึกษาพบว่ามีผู้มาร่วมกิจกรรมนี้
เฉลี่ยวันละ 4,844 คน
ทั้งนี้ ยังได้มีการประเมินผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจต่อผู้ประกอบการจากการพัฒนา
ภูมิทัศน์ ภูมิสถาปัตย์ และระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ต พบว่า โครงการ
ปรับปรุงทางเท้า เป็นโครงการที่ให้ผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจต่อผู้ประกอบการในพื้นที่ ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
มากที่สุด รองลงมาคือ โครงการปรับปรุงระบบสายไฟฟ้า โครงการปรับปรุงป้ายบอกทาง
แสงสว่าง และอุปกรณ์ประดับถนน ส่วนโครงการปรับปรุงการจราจรและการจอดรถ เป็นโครงการ
ที่ผู้ประกอบการ (ถนนถลาง) ยังคงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในเชิงลบ
การประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ประกอบการรายย่อย ต่อการพัฒนาพื้นที่
ด้านสถาปัตกรรมอยู่ในระดับที่มีความพึงพอใจปานกลาง (3.03 จาก 5 คะแนน) โดยผู้ประกอบการ
เห็นด้วยกับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ด้านสถาปัตย์ ส่วนความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมทาง
วัฒนธรรม เช่น ตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต หลาดใหญ่ พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 28
สถาบันพระปกเกล้า